๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๕.๔๕ น. ที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา "The National Assembly Radio and Television Broadcasting Station" สัมภาษณ์พิเศษ รายการ อินไซด์ รัฐสภา "ในประเด็น "คสช.สั่งงดเลือกตั้งท้องถิ่นชั่วคราว"
_คิดเห็นอย่างไรกับประกาศของ คสช. ที่มีคำสั่ง งดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นชั่วคราว และให้ใช้วิธีสรรหาแทน?
= เห็นด้วย เพราะสอดคล้องกับการงดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนในระดับชาติ (สส.,สว.) เพื่อรอการปฏิรูปการเมืองในระดับของท้องถิ่น ด้วยเหตุผลหนึ่งที่เข้ากระแสของการปฏิรูปก็คือ ปัญหาประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาการขาดระบบการควบคุมตรวจสอบที่สมดุลกันระหว่างข้าราชการฝ่ายประจำกับฝ่ายนักการเมืองท้องถิ่น รวมไปถึงการทุจริตคอรัปชั่นของท้องถิ่นในหลายมิติ ซึ่งในหลายๆ กรณีทำให้สังคมขาดความเชื่อมั่นศรัทธา...
_มีการประเมินว่า เป็นการสลายอิทธิพลทางการเมือง ระหว่างการเมืองท้องถิ่นกับการเมืองระดับชาติ ตรงนี้คิดว่าจะสามารถสลายขั้วการเมืองได้หรือไม่ ?
= ปกตินักการเมืองระดับชาติ ก็มักจะมีฐานเสียงคะแนนมาจากฐานการเมืองในระดับท้องถิ่น การให้ชะลอการเลือกตั้งท้องถิ่น ลงอาจทำให้การเมืองระดับชาติหยุดนิ่งไปด้วยเช่นกัน...
_เท่าที่คลุกคลีการเมืองท้องถิ่นมา ข้อเท็จจริงการเอื้อประโยชน์ระหว่างการเมืองสองระดับ มีอย่างไร ?
= เป็นเรื่องปกติ ของการเอื้อประโยชน์กันระหว่างการเมืองระดับชาติกับการเมืองระดับท้องถิ่น เพราะการเมืองท้องถิ่นเป็นฐานเสียงของการเมืองระดับชาติ ในลักษณะของ “การต่างตอบแทน” ซึ่งกันและกัน อันส่งผลกระทบถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นฝ่ายประจำ ต้องคอยแก้ไขปัญหาความไม่ชอบต่าง ๆ ที่อาจพึงเกิดขึ้น หากการดำเนินการนั้นๆไปมีผลกระทบต่อสังคมในเชิงลบ ที่สำคัญคงไม่พ้นเรื่องการคอรัปชั่น...
_ประกาศของ คสช.ดังกล่าว มีผลกระทบต่อประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน ?
มีผลกระทบต่อสังคมโลกแน่นอน แต่ในสายตาของสังคมไทย อาจมองต่างมุม เพราะคำว่าประชาธิปไตยนั้น เราต้องมองในบริบท (context clue) ของสังคมไทยก่อนเป็นอันดับแรก เห็นว่าเป็นการปรับบทบาทขององค์กรหรือองคาพยพ (organ) ต่าง ๆ ของสังคมให้เข้ารูปเข้ารอยให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยเพื่อไปสู่ประชาธิปไตย อันเป็นเป้าหมายสุดท้ายเฉกเช่นที่สังคมโลกปรารถนาเช่นกัน..
_ตรงนี้มันจะค้านกันกับการกระจายอำนาจหรือไม่ เพราะการกระจายอำนาจก็บรรจุไว้ในการปฏิรูปประเทศด้วย ?
= การเตรียมการเพื่อปรับบทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ถือว่าเป็นการปฏิรูปในทางหนึ่ง ที่ต้องทำควบคู่ไปกับการกระจายอำนาจ เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นด้วยซ้ำ เพราะรากหญ้าของการพัฒนาต้องมาจากท้องถิ่น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ อปท.ก่อนย่อมบรรลุผลด้านการกระจายอำนาจ เหตุผลอีกอย่างก็คือ การกระจายอำนาจเดิมของไทยนั้น เป็นเพียงการกระจายอำนาจตามรูปแบบเท่านั้น มิใช่การกระจายอำนาจตามโครงสร้าง ซึ่งยังอยู่ในอำนาจการรวมศูนย์ที่กลุ่มบุคคล การเตรียมการดังกล่าวข้างต้นถือเป็นการเตรียมการไปสู่การกระจายอำนาจตามโครงสร้างที่ถูกต้องต่อไป
ผลจากการรวมศูนย์อำนาจที่ผูกขาด โดยไม่มีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจที่เหมาะสม ย่อมนำไปสู่การคอรัปชั่นได้ในที่สุด ทั้งนี้มีตัวที่คอยฉุดรั้งได้ก็เพียงความสำนึกรับผิดชอบของบุคคลในองค์กรเท่านั้น...
_คิดว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นจะมีเสียงค้านกับเสียงเชียร์ในเรื่องนี้อย่างไร?
= กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์ย่อมมีเสียงคัดค้านเป็นธรรมดา แต่ในสถานการณ์เช่นนี้คงต้องยอมรับ มิติของการเปลี่ยนแปลง ต้องเสียสละเจตน์จำนงส่วนตัวเป็นเจตน์จำนงส่วนรวมทั่วไป เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้า ไปสู่ความผาสุขของประชาชนเห็นว่าในภาพรวมน่าจะมีเสียงจากประชาชนให้กำลังใจกันมากกว่า...
_คิดว่ากระบวนการสรรหาควรเป็นอย่างไรให้ได้คนดี รู้ปัญหาท้องถิ่นเข้ามาทำหน้าที่ ?
= เห็นว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะมีกรอบการสรรหาไว้แล้วชัดเจน ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 85/2557 ข้อ 2 ตอนท้ายระบุไว้ว่า “...ทั้งนี้ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย”...
_คำประกาศนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณการยกเครื่องการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ ?
= ถือเป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่ เพราะ ปัญหาของการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นก็คือ การซื้อเสียง หรือ การให้ประโยชน์ตอบแทนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนน การเตรียมการเพื่อปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ก่อนที่จะปล่อยให้มีการเลือกตั้งครั้งต่อไป ถือเป็นเรื่องดี รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมิติต่าง ๆ ปฏิรูปกฎหมายเลือกตั้งและองค์กรอิสระเพื่อมีสภาพบังคับให้ดีขึ้น อันเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย...
_การส่งข้าราชการลงไปทำงานแทนสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ตรงนี้จะเป็นผลดีหรือผลลบต่อท้องถิ่น ?
= ข้าราชการเป็นผู้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระบบการสรรหาที่เน้นในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของผู้ได้รับการแต่งตั้งด้วย ถือเป็นการเรียนรู้ประชาธิปไตยให้แก่ท้องถิ่นในอีกมุมหนึ่ง ในเรื่องการปฏิบัติงานที่ต้องอ้างอิงระเบียบกฎหมายของสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้งคงไม่น่ามีปัญหา อันเป็นผลดีในภาพรวม ส่วนภาพลบนั้นอาจมีบ้าง หากการปฏิบัติงานของสมาชิกที่สรรหามาจากการแต่งตั้งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความคาดหมายของประชาชนที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของบริบทในแต่ละท้องถิ่น และบริบทของแต่ละบุคคล...
_มีข้อห่วงใยว่า ข้าราชการที่เข้าไปทำงาน จะรู้เท่าทันการเมืองระดับท้องถิ่นหรือไม่ ตรงนี้คิดว่าน่าห่วงมากน้อยแค่ไหน ?
= เห็นว่าข้าราชการอยู่ในระดับตำแหน่ง ผู้บริหารมีวัยวุฒิ คุณวุฒิ หรือข้าราชการเกษียณ บำนาญ ล้วนเป็นผู้มีความรู้ในท้องถิ่น การนำเอาบุคคลดังกล่าวมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง น่าจะเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นมาก เพราะผู้ได้รับการสรรหาล้วนแต่มีหลักประกันในเรื่องพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งคนในท้องถิ่นรู้ดีว่าเป็น "บุคคลสาธารณะ" ให้การยอมรับนับถือ ทั้งนี้ต้องเข้ามาในลักษณะอาสาทำงานใกล้ชิดกับประชาชน สิ่งที่น่าวิตกมากกว่า น่าจะอยู่ที่กระบวนการสรรหาข้าราชการที่จะมาทำงานเป็นไปตามที่สังคมคาดหวังเพื่อให้ได้คุณดีมีคุณธรรมเข้ามาหรือไม่เพียงใด...
_บางส่วนกังวลกับเงื่อนเวลา การอยู่ในวาระชุดที่มาจากสรรหาว่าจะอยู่นานเท่าใด คสช.ควรจะประกาศให้ชัดเจนเลยหรือไม่ ?
= หากเป็นไปตามแผนที่ คสช.กำหนด เงื่อนไขระยะเวลาก็เป็นไปตามกฎหมายโดยชัดเจนอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีบทเฉพาะกาลใดที่นอกบทบัญญัติของกฎหมาย...
_ในฐานะที่อยู่ส่วนท้องถิ่น คิดว่าท้องถิ่นควรมีการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงอย่างไร ?
=ในแนวทางของการปฏิรูปกฎหมายของท้องถิ่น มีกฎหมายหลักที่จำเป็นต้องปฏิรูปหลัก ดังนี้
(๑) ประมวลกฎหมายท้องถิ่น อาจรวมเรื่องการบริหารงานบุคคลของข้าราชการส่วนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วย
(๒) กฎหมายกระจายอำนาจท้องถิ่น
(๓) กฎหมายรายได้ท้องถิ่น
(๔) กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการรวมกลุ่มของข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสหภาพ...
_คาดหวังการเปลี่ยนแปลงต่อวงการการเมืองท้องถิ่นครั้งนี้อย่างไร ?
= เห็นว่าเป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะการเลือกตั้งตัวแทนท้องถิ่น และบทบาทการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพิทักษ์ปกป้องชุมชนของตนเอง...ขอบคุณครับ
สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
นายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย นายพนมไพร ปารมี กรรมการฝ่ายวิชการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
-
นายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย นายพนมไพร ปารมี กรรมการฝ่ายวิชการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
-
ขอเรียน เพื่อน ๆ พี่น้อง ที่รักทุกท่าน ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีกับ นาย สรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง โดย ท่าน ปลัดสรณะ เทพเน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น