สรุปมติ ก.กลาง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558
โดยนายสรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง กรรมการ ก.ท.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน
ต้นเรื่อง ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนปลัด อปท.ไว้ แต่ในทางปฏิบัติ พบว่า ในกรณีจำเป็นที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดหรือรองปลัด อปท. หรือผู้อำนวยการกองในคราวเดียวกัน หรือมีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ อันเนื่องมาจากมีลักษณะต้องห้ามหรือเป็นคู่กรณีตามที่กฎหมายบัญญัติ ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคว่า ผู้ใดจะเป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดเทศบาล อปท. ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของท้องถิ่นสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อย่างถูกต้อง มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การรักษาราชการแทน
ข้อพิจารณา เพื่อให้การรักษาราชการแทนปลัดหรือผู้อำนวยการกองแล้วแต่กรณีมีความคล่องตัว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางการรักษาราชการแทนไว้ โดยเทียบเคียงกับการรักษาราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วย การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งกำหนดว่าให้ผู้ซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ดังนี้
ประกาศ ก.ท. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้าง การแบ่งส่วนราชการ วิธีการบริหาร และการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล และกิจการอันเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลในเทศบาล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 (แก้ไข) ข้อ 16 ในกรณีที่ไม่มีปลัดเทศบาล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดเทศบาลเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดเทศบาลหลายคนให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองปลัดเทศบาลคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งพนักงานเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง ให้รองปลัดเทศบาลหรือผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองที่มีอาวุโสตามแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
เห็นชอบ การยกเลิกขนาดเทศบาล เป็นประเภทสามัญ
อ.ก.ท.โครงสร้างในการประชุมครั้งที่ 11/2558 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 พิจารณาแล้ว เห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ขนาดและระดับตำแหน่งของเทศบาล ดังนี้
1. ประเภทของเทศบาล
การกำหนดขนาดเทศบาลสามัญ และใหญ่ นั้น อ.ก.ท.โครงสร้าง เห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อเทศบาลจาก เทศบาลสามัญและขนาดใหญ่ แก้ไขเป็นให้มีเทศบาล 2 ประเภท คือ ประเภทสามัญ และประเภทพิเศษ
ประเภทพิเศษ ระดับตำแหน่งของปลัดเทศบาล คือ ระดับ 9 และระดับ 10 (เฉพาะราย)
ประเภทสามัญ ระดับตำแหน่งของปลัดเทศบาล คือ ระดับ 7/6 (คุ้มครองเฉพาะรายกรณีเทศบาลมีรายจ่ายด้านการบริหารงานบุคคลเกิน ร้อยละ 35) ระดับ 8 ระดับ 9
2. โครงสร้างการกำหนดตำแหน่งผู้บริหาร
2.1 ให้เทศบาลประเภทสามัญกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 ผู้อำนวยการกองเป็นระดับ 7 หรือ ระดับ 8 และรองปลัดเทศบาลเป็นระดับ 7 หรือระดับ 8 ตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ การกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ระดับ 8 ให้ยกเลิกเกณฑ์รายได้รวมเงินอุดหนุนทั่วไปในปีงบประมาณที่ผ่านมา ตั้งแต่ 40 ล้านบาท ขึ้นไป แก้ไขเป็นเทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายด้านบริหารงานบุคคลตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.บริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ไม่เกินร้อยละ 35 และผ่านการวิเคราะห์ค่างานตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ท. กำหนด
2.2 ให้เทศบาลประเภทพิเศษกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 9 รองปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 หรือ 9 ตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้อำนวยการสำนักเป็นระดับ 9 ตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้อำนวยการกองเป็นระดับ 8 ทั้งนี้ ให้เทศบาลประเภทพิเศษสามารถกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 10 ได้เป็นการเฉพาะราย
3. เกณฑ์การปรับขนาดเทศบาล ประกอบด้วย 3 เกณฑ์ ดังนี้
3.1 เกณฑ์ตัวชี้วัดพื้นฐาน โดยกำหนดตัวชี้วัดพื้นฐาน จำนวน 5 รายการ
3.2 เกณฑ์ปริมาณงาน โดยกำหนดเกณฑ์ผ่านด้านปริมาณงานต้องได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 60
3.3 เกณฑ์ประสิทธิภาพ โดยให้เทศบาลจัดทำผลงานดีเด่นที่แสดงถึงผลสำฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ที่เกิดประโยชน์ต่อทางราชการอันเป็นผลเชิงประจักษ์อย่างน้อย 6 ด้าน
4. บทเฉพาะกาล
ให้เทศบาลประเภทสามัญที่ปลัดเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งในระดับ 6 และระดับ 7 ปรับโครงสร้างและระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1.เทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2542
ในปีงบประมาณปัจจุบันไม่เกินร้อยละ 35 สำหรับเทศบาลใดทีมีภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 35
ให้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลยังคงเป็นระดับเดิมไปพลางก่อน
2.เมื่อตำแหน่งปลัดเทศบาลปรับเป็นระดับ 8 แล้ว การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลที่ว่าง
ในครั้งแรก ให้ดำเนินการสรรหาด้วยวิธีการคัดเลือกพนักงานเทศบาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับทีสูงขึ้น
สำหรับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาลเท่านั้น (ปลัดเทศบาล ระดับ 7/รองปลัดเทศบาล ระดับ 8) หากดำเนินการ
สรรหาแล้วไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม เทศบาลสามารถดำเนินการสรรหาด้วยการ
โอน/สอบคัดเลือกหรือการคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้น/การคัดเลือกเพื่อรับโอน วิธีการใดวิธีหนึ่ง ตามที่เห็นสมควร
สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประธาน สปช. ยืนยัน หารือนอกรอบ คงกรอบ 37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนา
16 มิ.ย. 58 - ประธาน สปช. ยืนยันผลการรือนอกรอบ คงกรอบ37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนาตามแผนเวลาที่กำหนด คาดลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ 5-7 ก.ย. นี้ ก่อนสิ้นสุดวาระ เตรียมเสนอ 5 เอกสารประมวลผลการทำงานต่อรัฐบาล
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กล่าวต่อที่ประชุม สปช. ถึงผลการหารือนอกรอบวานนี้(15 มิ.ย.58)เรื่องแนวทางการทำงานและแผนวาระการปฏิรูปประเทศว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 คาดจะมีผลให้ สปช. ได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ในวันที่ 22 ส.ค. 58 และจะมีผลให้ สปช. ต้องลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในวันที่ 5 - 7 ก.ย. 58 และ สปช. ต้องสิ้นสุดวาระปฏิบัติงานทันที ขณะ สปช. สามารถเสนอคำถามในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญได้ 1 คำถาม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สปช. ยังคงยืนยันแผนงานตามที่กำหนดไว้เดิมทุกประการ คือทุกคณะกรรมาธิการได้นำเสนอกรอบแนวคิดการปฏิรูป ทั้ง 37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนา ก่อนวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา และทำการแก้ไขปรับปรุงก่อนเสนอ สปช.อีกครั้งภายในวันที่ 30 มิ.ย. จากนั้นเสนอ สปช.ให้ความเห็นชอบแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งไม่ช้ากว่าวันที่ 22 ส.ค. วันสุดท้ายที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากกรรมาธิการยกร่างฯ และหากวาระปฏิรูปใดจำเป็นต้องมีกฎหมายประกอบ และสามารถยกร่างได้ทันย่อมเสนอพร้อมแผนปฏิรูปฉบับสมบูรณ์ได้ทันที พร้อมกันนี้ สปช.ได้ทยอยเสนอแผนปฏิรูปต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตามที่ได้ตกลงไว้กับรัฐบาลแล้ว
ประธาน สปช. กล่าวต่อไปว่า ก่อนหมดวาระ สปช.จะประมวลผลการปฏิบัติงานทั้งหมดเสนอต่อ ครม. ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ซึ่งจะประกอบด้วย เอกสารวิสัยทัศน์และอนาคตภาพประเทศไทย เอกสารแผนปฏิรูปทั้ง 37 วาระการปฏิรูปและ 6 วาระการพัฒนา รวมทั้งวาระการปฏิรูปเฉพาะ(Quick Win) เอกสารแสดงประเด็นการปฏิรูปหลักซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นกุญแจสำคัญและมีความเชื่อมโยงกับวาระปฏิรูปอื่น ซึ่งรวมถึงเอกสารการปรับกลไกภาครัฐและระบบบริหารราชการแผ่นดินด้วย นอกจากนี้ สปช.เตรียมจัดสัมมนาเฉพาะสมาชิก ในวันพุธที่ 24 มิ.ย. นี้ ที่ ร.ร.รามาการ์เด้นท์
ทั้งนี้ หลังการชี้แจงถึงผลการหารือนอกรอบแล้ว ประธาน สปช. ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกในการอภิปรายให้สั้น อภิปรายเฉพาะประเด็นสำคัญซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ประเด็นเห็นต่าง ข้อเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในวาระปฏิรูป เนื่องจาก สปช.มีเวลาการทำหน้าที่อีกไม่มาก
ลักขณา เทียกทอง ข่าว/เรียบเรียง
มอบผลงานการประชุมสัมมนาสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
มอบผลงานการประชุมสัมมนาสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย หัวข้อเรื่อง ยุทธศาสตร์การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา แด่ ศาสตราจารย์ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ณ อาคารรัฐสภา
คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้า คสช. มอบหมายให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร เป็นประธานคณะกรรมการในการขับเคลื่อนเพื่อให้การจัดสรรเงินงบประมาณปี 2558 ทันใช้ในการบริหารประเทศในวันที่ 1 ตุลาคม 2557
จากนั้นก็ออกคำสั่งให้ชะลอการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่หมดวาระ หรือสิ้นสภาพออกไปก่อน โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะใน กทม.ที่ ส.ก.-ส.ข.ที่ครบวาระ หรือสิ้นสภาพ ก็ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติมารับตำแหน่งไปก่อน
พล.อ.ศิริชัย พร้อมด้วย พล.ร.อ.อิทธิคมน์ ภมรสูต รองเสนาธิการทหาร พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ ได้ลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดทำงบประมาณปี 2558 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี และส่วนราชการในพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อร่วมกันชี้แจงข้อมูล ปัญหาข้อขัดข้อง และอุปสรรคต่างๆ รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่
พล.อ.ศิริชัย เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อมารับทราบข้อมูลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี โดย คสช.ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการดำเนินการในเรื่องเงินหนุนที่จะลงมายังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งทาง คสช.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาขับเคลื่อนงบประมาณดังกล่าว เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารงบประมาณให้ดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยการบูรณาการทั้งบุคลากร งบประมาณ แผนงานโครงการต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งระบบทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้การดำเนินการจะต้องมีการแยกกลุ่มงานตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งการจัดลำดับงานก่อสร้าง งานซ่อมแซมที่จะต้องลงไปในทุกพื้นที่ภาคทุกและทุกจังหวัดให้ครอบคลุมเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด สำหรับเรื่องรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บให้ไปพิจารณาในวาระที่ 2 หรือในช่วงการปฏิรูปประเทศ ถ้าส่วนท้องถิ่นใดมีการจัดเก็บเงินได้มากก็ให้มีการจัดสรรเงินใหม่ เพื่อให้เกิดเป็นระบบต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณของ คสช.ก็เพื่อต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนโดยรวม ให้เกิดความยั่งยืน ไม่สร้างปัญหาในระยะยาว ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่และเป็นธรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่ได้รับการดูแลมาก่อน
“การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อมาตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ ที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้นำเสนอขึ้นมา ทั้งนี้นโยบายที่ คสช.มอบหมายพิเศษคือ การยึดหลักในเรื่องการกระจายอำนาจ และการบริหารจัดสรรงบประมาณ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะดูถึงเรื่องความต้องการของประชาชนที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร จึงจะมีการสอบถามจากประชาชน โดยจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังมีการเน้นย้ำเกี่ยวกับแผนงานต่างๆ จะต้องมีความละเอียด และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติได้อย่างจริงจังและทันที”
พล.อ.ศิริชัย กล่าวเพิ่มอีกว่า โครงการที่มีการถ่ายโอนจากส่วนราชการอื่นๆ มาให้ท้องถิ่นดำเนินการต่อนั้น จะต้องมีการหารือกันและกำหนดเป็นกลุ่มงานกลุ่มพื้นที่ และจัดระดับความเร่งด่วนให้ชัดเจน โดยจะเน้นการครอบคลุมในทุกพื้นที่ต่างๆ การหารือในเบื้องต้นถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดี โดยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาจัดสรรงบอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ และงบประมาณที่จะจัดสรรจะต้องเป็นงบประมาณที่ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและทั่วถึงจริงๆ ทุกเรื่องที่ใช้จ่ายจะต้องมีการตรวจสอบ และจะไม่ทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า หาก คสช.ไม่เข้ามาดำเนินการในการเรื่องนี้จะทำให้งบประมาณในการเบิกจ่ายจะล่าช้าไปอีก 6 เดือน เมื่อ คสช.เข้ามาจึงทำให้งบประมาณปี 2558 สามารถเดินไปได้ตามระบบ โดยวันที่ 1 ตุลาคม 2557 นี้ งบประมาณก็จะเบิกจ่ายได้ตามปกติ ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องเร่งรัดในการดำเนินการ โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ทั้งนี้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็รู้อยู่แล้ว ไม่เฉพาะในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเท่านั้น
“ตอนนี้เหลือเวลาเพียงอีก 2 เดือน ในการพิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 หากไม่เร่งรีบในการดำเนินการจะไม่สามารถประกาศใช้งบประมาณได้ ทั้งนี้ หากเป็นงบประมาณตามปฏิทินปกติจะต้องมีการพิจารณาก่อนหน้านี้พอสมควร แต่เมื่อไม่มีเวลาก็จะต้องทำให้ขั้นตอนมันสั้นลง เมื่อสั้นลงแล้วก็จะต้องมีกระบวนการในดำเนินการ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม แต่การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี จะได้รู้ข้อมูลต่างๆ อะไรมีช่องว่าง หรือช่องโหว่ จะได้มีการแก้ไขให้เกิดเป็นระบบต่อไป”
นายวัลลภ กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวต้องการจะให้งบประมาณมีการกระจายเพื่อให้เกิดการครอบคลุมในทุกพื้นที่ อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคก็จะนำไปประกอบการพิจารณาอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ส่วนที่มีการมองกันว่า ที่ผ่านมางบประมาณในส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการทุจริตนั้น เรื่องนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายตามอำนาจกฎหมายไปกำกับดูแล ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบโครงการสำคัญ หากโครงการไหนไม่จำเป็น ก็จะไม่มีการพิจารณาในช่วงนี้ โครงการที่จะได้รับการอนุมัติจะต้องเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า ทุกโครงการจะต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ที่ผ่านมามักจะมีข่าวในลักษณะที่ว่า นักการเมืองมักจะใช้งบประมาณในส่วนของท้องถิ่นมาทำประโยชน์ให้แก่พวกตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้การเบิกจ่ายใช้งบประมาณจะต้องมีความละเอียดและรอบคอบ เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญการจัดสรรงบประมาณจะต้องกระจายให้ทั่วถึง และเป็นโครงการสนองตอบต่อประชาชนเป็นหลักและเป็นธรรม ที่ผ่านมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการทบทวนแผนปฏิบัติการทุกปี เพื่อให้ทันต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 2558 ดังนั้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2560 จากแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2558 ให้สอดคล้องกับภารกิจและความคล่องตัวในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
.....................
จากนั้นก็ออกคำสั่งให้ชะลอการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่หมดวาระ หรือสิ้นสภาพออกไปก่อน โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะใน กทม.ที่ ส.ก.-ส.ข.ที่ครบวาระ หรือสิ้นสภาพ ก็ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติมารับตำแหน่งไปก่อน
พล.อ.ศิริชัย พร้อมด้วย พล.ร.อ.อิทธิคมน์ ภมรสูต รองเสนาธิการทหาร พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ ได้ลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดทำงบประมาณปี 2558 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี และส่วนราชการในพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อร่วมกันชี้แจงข้อมูล ปัญหาข้อขัดข้อง และอุปสรรคต่างๆ รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่
พล.อ.ศิริชัย เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อมารับทราบข้อมูลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี โดย คสช.ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการดำเนินการในเรื่องเงินหนุนที่จะลงมายังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งทาง คสช.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาขับเคลื่อนงบประมาณดังกล่าว เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารงบประมาณให้ดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยการบูรณาการทั้งบุคลากร งบประมาณ แผนงานโครงการต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งระบบทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้การดำเนินการจะต้องมีการแยกกลุ่มงานตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งการจัดลำดับงานก่อสร้าง งานซ่อมแซมที่จะต้องลงไปในทุกพื้นที่ภาคทุกและทุกจังหวัดให้ครอบคลุมเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด สำหรับเรื่องรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บให้ไปพิจารณาในวาระที่ 2 หรือในช่วงการปฏิรูปประเทศ ถ้าส่วนท้องถิ่นใดมีการจัดเก็บเงินได้มากก็ให้มีการจัดสรรเงินใหม่ เพื่อให้เกิดเป็นระบบต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณของ คสช.ก็เพื่อต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนโดยรวม ให้เกิดความยั่งยืน ไม่สร้างปัญหาในระยะยาว ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่และเป็นธรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่ได้รับการดูแลมาก่อน
“การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อมาตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ ที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้นำเสนอขึ้นมา ทั้งนี้นโยบายที่ คสช.มอบหมายพิเศษคือ การยึดหลักในเรื่องการกระจายอำนาจ และการบริหารจัดสรรงบประมาณ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะดูถึงเรื่องความต้องการของประชาชนที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร จึงจะมีการสอบถามจากประชาชน โดยจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังมีการเน้นย้ำเกี่ยวกับแผนงานต่างๆ จะต้องมีความละเอียด และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติได้อย่างจริงจังและทันที”
พล.อ.ศิริชัย กล่าวเพิ่มอีกว่า โครงการที่มีการถ่ายโอนจากส่วนราชการอื่นๆ มาให้ท้องถิ่นดำเนินการต่อนั้น จะต้องมีการหารือกันและกำหนดเป็นกลุ่มงานกลุ่มพื้นที่ และจัดระดับความเร่งด่วนให้ชัดเจน โดยจะเน้นการครอบคลุมในทุกพื้นที่ต่างๆ การหารือในเบื้องต้นถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดี โดยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาจัดสรรงบอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ และงบประมาณที่จะจัดสรรจะต้องเป็นงบประมาณที่ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและทั่วถึงจริงๆ ทุกเรื่องที่ใช้จ่ายจะต้องมีการตรวจสอบ และจะไม่ทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า หาก คสช.ไม่เข้ามาดำเนินการในการเรื่องนี้จะทำให้งบประมาณในการเบิกจ่ายจะล่าช้าไปอีก 6 เดือน เมื่อ คสช.เข้ามาจึงทำให้งบประมาณปี 2558 สามารถเดินไปได้ตามระบบ โดยวันที่ 1 ตุลาคม 2557 นี้ งบประมาณก็จะเบิกจ่ายได้ตามปกติ ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องเร่งรัดในการดำเนินการ โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ทั้งนี้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็รู้อยู่แล้ว ไม่เฉพาะในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเท่านั้น
“ตอนนี้เหลือเวลาเพียงอีก 2 เดือน ในการพิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 หากไม่เร่งรีบในการดำเนินการจะไม่สามารถประกาศใช้งบประมาณได้ ทั้งนี้ หากเป็นงบประมาณตามปฏิทินปกติจะต้องมีการพิจารณาก่อนหน้านี้พอสมควร แต่เมื่อไม่มีเวลาก็จะต้องทำให้ขั้นตอนมันสั้นลง เมื่อสั้นลงแล้วก็จะต้องมีกระบวนการในดำเนินการ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม แต่การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี จะได้รู้ข้อมูลต่างๆ อะไรมีช่องว่าง หรือช่องโหว่ จะได้มีการแก้ไขให้เกิดเป็นระบบต่อไป”
นายวัลลภ กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวต้องการจะให้งบประมาณมีการกระจายเพื่อให้เกิดการครอบคลุมในทุกพื้นที่ อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคก็จะนำไปประกอบการพิจารณาอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ส่วนที่มีการมองกันว่า ที่ผ่านมางบประมาณในส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการทุจริตนั้น เรื่องนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายตามอำนาจกฎหมายไปกำกับดูแล ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบโครงการสำคัญ หากโครงการไหนไม่จำเป็น ก็จะไม่มีการพิจารณาในช่วงนี้ โครงการที่จะได้รับการอนุมัติจะต้องเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า ทุกโครงการจะต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ที่ผ่านมามักจะมีข่าวในลักษณะที่ว่า นักการเมืองมักจะใช้งบประมาณในส่วนของท้องถิ่นมาทำประโยชน์ให้แก่พวกตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้การเบิกจ่ายใช้งบประมาณจะต้องมีความละเอียดและรอบคอบ เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญการจัดสรรงบประมาณจะต้องกระจายให้ทั่วถึง และเป็นโครงการสนองตอบต่อประชาชนเป็นหลักและเป็นธรรม ที่ผ่านมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการทบทวนแผนปฏิบัติการทุกปี เพื่อให้ทันต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 2558 ดังนั้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2560 จากแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2558 ให้สอดคล้องกับภารกิจและความคล่องตัวในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
.....................
(หมายเหตุ : คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58)
ปปช. เดินหน้าตรวจสอบ-ขอข้อมูลการเปิดเผยราคากลางของ อปท.
โดย ปปช. ทำหนังสือถึงนายก-ผู้บริหารท้องถิ่น ว่า ปปช. จะดำเนินการตรวจสอบการเปิดเผยราคากลางและวิธีการคำนวณราคากลางของการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตามสัญญาเกินกว่า 100,000 ขึ้นไป ตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ฯ ตามพรบ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประกอบกับคำสั่งของ คสช. เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ
ปปช. ประจำจังหวัด ... จึงขอความร่วมมือมายังหน่วยงานท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดทำและจัดส่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตามสัญญาเกินกว่า 100,000 ขึ้นไป ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 (จนถึงปัจจุบัน) รายละเอียดได้แก่
- จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่จะต้องประกาศราคากลาง
- สำเนาประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
- สำเนาประกาศราคากลาง ทุกแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
***แหล่งข่าว http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,58961.0.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
นายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย นายพนมไพร ปารมี กรรมการฝ่ายวิชการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
-
นายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย นายพนมไพร ปารมี กรรมการฝ่ายวิชการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
-
ขอเรียน เพื่อน ๆ พี่น้อง ที่รักทุกท่าน ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีกับ นาย สรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง โดย ท่าน ปลัดสรณะ เทพเน...