สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปมติ ก.กลาง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558โดยนายสรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง กรรมการ ก.ท.

สรุปมติ ก.กลาง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558
โดยนายสรณะ เทพเนาว์  ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง กรรมการ ก.ท.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน
ต้นเรื่อง ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนปลัด อปท.ไว้ แต่ในทางปฏิบัติ พบว่า ในกรณีจำเป็นที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดหรือรองปลัด อปท. หรือผู้อำนวยการกองในคราวเดียวกัน หรือมีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ อันเนื่องมาจากมีลักษณะต้องห้ามหรือเป็นคู่กรณีตามที่กฎหมายบัญญัติ ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคว่า ผู้ใดจะเป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดเทศบาล อปท. ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของท้องถิ่นสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อย่างถูกต้อง มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การรักษาราชการแทน
ข้อพิจารณา  เพื่อให้การรักษาราชการแทนปลัดหรือผู้อำนวยการกองแล้วแต่กรณีมีความคล่องตัว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางการรักษาราชการแทนไว้ โดยเทียบเคียงกับการรักษาราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วย การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งกำหนดว่าให้ผู้ซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ดังนี้
ประกาศ ก.ท. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้าง การแบ่งส่วนราชการ วิธีการบริหาร และการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล และกิจการอันเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลในเทศบาล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544  (แก้ไข) ข้อ 16 ในกรณีที่ไม่มีปลัดเทศบาล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดเทศบาลเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดเทศบาลหลายคนให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองปลัดเทศบาลคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งพนักงานเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง  ให้รองปลัดเทศบาลหรือผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองที่มีอาวุโสตามแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน

เห็นชอบ การยกเลิกขนาดเทศบาล เป็นประเภทสามัญ
อ.ก.ท.โครงสร้างในการประชุมครั้งที่ 11/2558 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 พิจารณาแล้ว เห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ขนาดและระดับตำแหน่งของเทศบาล ดังนี้
1. ประเภทของเทศบาล
       การกำหนดขนาดเทศบาลสามัญ และใหญ่ นั้น อ.ก.ท.โครงสร้าง เห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อเทศบาลจาก เทศบาลสามัญและขนาดใหญ่ แก้ไขเป็นให้มีเทศบาล 2 ประเภท คือ ประเภทสามัญ และประเภทพิเศษ
       ประเภทพิเศษ ระดับตำแหน่งของปลัดเทศบาล คือ ระดับ 9 และระดับ 10 (เฉพาะราย)
                  ประเภทสามัญ  ระดับตำแหน่งของปลัดเทศบาล คือ ระดับ 7/6 (คุ้มครองเฉพาะรายกรณีเทศบาลมีรายจ่ายด้านการบริหารงานบุคคลเกิน ร้อยละ 35) ระดับ 8 ระดับ 9
              2. โครงสร้างการกำหนดตำแหน่งผู้บริหาร
                   2.1 ให้เทศบาลประเภทสามัญกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 ผู้อำนวยการกองเป็นระดับ 7 หรือ ระดับ 8 และรองปลัดเทศบาลเป็นระดับ 7 หรือระดับ 8 ตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ การกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ระดับ 8 ให้ยกเลิกเกณฑ์รายได้รวมเงินอุดหนุนทั่วไปในปีงบประมาณที่ผ่านมา ตั้งแต่ 40 ล้านบาท  ขึ้นไป แก้ไขเป็นเทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายด้านบริหารงานบุคคลตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.บริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ไม่เกินร้อยละ 35 และผ่านการวิเคราะห์ค่างานตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ท. กำหนด
                  2.2 ให้เทศบาลประเภทพิเศษกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 9 รองปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 หรือ 9 ตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้อำนวยการสำนักเป็นระดับ 9 ตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้อำนวยการกองเป็นระดับ 8 ทั้งนี้ ให้เทศบาลประเภทพิเศษสามารถกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 10 ได้เป็นการเฉพาะราย
              3. เกณฑ์การปรับขนาดเทศบาล ประกอบด้วย 3 เกณฑ์ ดังนี้
                  3.1 เกณฑ์ตัวชี้วัดพื้นฐาน  โดยกำหนดตัวชี้วัดพื้นฐาน จำนวน 5 รายการ
                  3.2 เกณฑ์ปริมาณงาน  โดยกำหนดเกณฑ์ผ่านด้านปริมาณงานต้องได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 60
                  3.3 เกณฑ์ประสิทธิภาพ  โดยให้เทศบาลจัดทำผลงานดีเด่นที่แสดงถึงผลสำฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน  ที่เกิดประโยชน์ต่อทางราชการอันเป็นผลเชิงประจักษ์อย่างน้อย 6 ด้าน
              4. บทเฉพาะกาล
                  ให้เทศบาลประเภทสามัญที่ปลัดเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งในระดับ 6 และระดับ 7 ปรับโครงสร้างและระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
                                1.เทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2542
              ในปีงบประมาณปัจจุบันไม่เกินร้อยละ 35 สำหรับเทศบาลใดทีมีภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 35
              ให้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลยังคงเป็นระดับเดิมไปพลางก่อน


2.เมื่อตำแหน่งปลัดเทศบาลปรับเป็นระดับ 8 แล้ว การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลที่ว่าง
             ในครั้งแรก ให้ดำเนินการสรรหาด้วยวิธีการคัดเลือกพนักงานเทศบาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับทีสูงขึ้น
             สำหรับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาลเท่านั้น (ปลัดเทศบาล ระดับ 7/รองปลัดเทศบาล ระดับ 8) หากดำเนินการ
             สรรหาแล้วไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม เทศบาลสามารถดำเนินการสรรหาด้วยการ
             โอน/สอบคัดเลือกหรือการคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้น/การคัดเลือกเพื่อรับโอน วิธีการใดวิธีหนึ่ง ตามที่เห็นสมควร


วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประธาน สปช. ยืนยัน หารือนอกรอบ คงกรอบ 37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนา


16 มิ.ย. 58 -    ประธาน สปช. ยืนยันผลการรือนอกรอบ คงกรอบ37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนาตามแผนเวลาที่กำหนด คาดลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ 5-7 ก.ย. นี้ ก่อนสิ้นสุดวาระ เตรียมเสนอ 5 เอกสารประมวลผลการทำงานต่อรัฐบาล
     นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กล่าวต่อที่ประชุม สปช. ถึงผลการหารือนอกรอบวานนี้(15 มิ.ย.58)เรื่องแนวทางการทำงานและแผนวาระการปฏิรูปประเทศว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 คาดจะมีผลให้ สปช. ได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ในวันที่ 22 ส.ค. 58 และจะมีผลให้ สปช. ต้องลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในวันที่ 5 - 7 ก.ย. 58 และ สปช. ต้องสิ้นสุดวาระปฏิบัติงานทันที ขณะ สปช. สามารถเสนอคำถามในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญได้ 1 คำถาม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สปช. ยังคงยืนยันแผนงานตามที่กำหนดไว้เดิมทุกประการ คือทุกคณะกรรมาธิการได้นำเสนอกรอบแนวคิดการปฏิรูป ทั้ง 37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนา ก่อนวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา และทำการแก้ไขปรับปรุงก่อนเสนอ สปช.อีกครั้งภายในวันที่ 30 มิ.ย. จากนั้นเสนอ สปช.ให้ความเห็นชอบแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งไม่ช้ากว่าวันที่ 22 ส.ค. วันสุดท้ายที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากกรรมาธิการยกร่างฯ และหากวาระปฏิรูปใดจำเป็นต้องมีกฎหมายประกอบ และสามารถยกร่างได้ทันย่อมเสนอพร้อมแผนปฏิรูปฉบับสมบูรณ์ได้ทันที พร้อมกันนี้ สปช.ได้ทยอยเสนอแผนปฏิรูปต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตามที่ได้ตกลงไว้กับรัฐบาลแล้ว
     ประธาน สปช. กล่าวต่อไปว่า ก่อนหมดวาระ สปช.จะประมวลผลการปฏิบัติงานทั้งหมดเสนอต่อ ครม. ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ซึ่งจะประกอบด้วย เอกสารวิสัยทัศน์และอนาคตภาพประเทศไทย เอกสารแผนปฏิรูปทั้ง 37 วาระการปฏิรูปและ 6 วาระการพัฒนา รวมทั้งวาระการปฏิรูปเฉพาะ(Quick Win) เอกสารแสดงประเด็นการปฏิรูปหลักซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นกุญแจสำคัญและมีความเชื่อมโยงกับวาระปฏิรูปอื่น ซึ่งรวมถึงเอกสารการปรับกลไกภาครัฐและระบบบริหารราชการแผ่นดินด้วย นอกจากนี้ สปช.เตรียมจัดสัมมนาเฉพาะสมาชิก ในวันพุธที่ 24 มิ.ย. นี้ ที่ ร.ร.รามาการ์เด้นท์
     ทั้งนี้ หลังการชี้แจงถึงผลการหารือนอกรอบแล้ว ประธาน สปช. ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกในการอภิปรายให้สั้น อภิปรายเฉพาะประเด็นสำคัญซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ประเด็นเห็นต่าง ข้อเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในวาระปฏิรูป  เนื่องจาก สปช.มีเวลาการทำหน้าที่อีกไม่มาก

ลักขณา เทียกทอง ข่าว/เรียบเรียง 

มอบผลงานการประชุมสัมมนาสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย

มอบผลงานการประชุมสัมมนาสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย หัวข้อเรื่อง ยุทธศาสตร์การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา แด่ ศาสตราจารย์ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ณ อาคารรัฐสภา



คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58


คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58
คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58
                คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้า คสช. มอบหมายให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร เป็นประธานคณะกรรมการในการขับเคลื่อนเพื่อให้การจัดสรรเงินงบประมาณปี 2558 ทันใช้ในการบริหารประเทศในวันที่ 1 ตุลาคม 2557

                จากนั้นก็ออกคำสั่งให้ชะลอการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่หมดวาระ หรือสิ้นสภาพออกไปก่อน โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะใน กทม.ที่ ส.ก.-ส.ข.ที่ครบวาระ หรือสิ้นสภาพ ก็ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติมารับตำแหน่งไปก่อน

                พล.อ.ศิริชัย พร้อมด้วย พล.ร.อ.อิทธิคมน์ ภมรสูต รองเสนาธิการทหาร พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ ได้ลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดทำงบประมาณปี 2558 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี และส่วนราชการในพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อร่วมกันชี้แจงข้อมูล ปัญหาข้อขัดข้อง และอุปสรรคต่างๆ รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่

                พล.อ.ศิริชัย เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อมารับทราบข้อมูลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี โดย คสช.ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการดำเนินการในเรื่องเงินหนุนที่จะลงมายังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งทาง คสช.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาขับเคลื่อนงบประมาณดังกล่าว เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารงบประมาณให้ดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยการบูรณาการทั้งบุคลากร งบประมาณ แผนงานโครงการต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งระบบทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

                นอกจากนี้การดำเนินการจะต้องมีการแยกกลุ่มงานตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งการจัดลำดับงานก่อสร้าง งานซ่อมแซมที่จะต้องลงไปในทุกพื้นที่ภาคทุกและทุกจังหวัดให้ครอบคลุมเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด สำหรับเรื่องรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บให้ไปพิจารณาในวาระที่ 2 หรือในช่วงการปฏิรูปประเทศ ถ้าส่วนท้องถิ่นใดมีการจัดเก็บเงินได้มากก็ให้มีการจัดสรรเงินใหม่ เพื่อให้เกิดเป็นระบบต่อไปในอนาคต

                ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณของ คสช.ก็เพื่อต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนโดยรวม ให้เกิดความยั่งยืน ไม่สร้างปัญหาในระยะยาว ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่และเป็นธรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่ได้รับการดูแลมาก่อน

                “การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อมาตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ ที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้นำเสนอขึ้นมา ทั้งนี้นโยบายที่ คสช.มอบหมายพิเศษคือ การยึดหลักในเรื่องการกระจายอำนาจ และการบริหารจัดสรรงบประมาณ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะดูถึงเรื่องความต้องการของประชาชนที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร จึงจะมีการสอบถามจากประชาชน โดยจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังมีการเน้นย้ำเกี่ยวกับแผนงานต่างๆ จะต้องมีความละเอียด และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติได้อย่างจริงจังและทันที”

                พล.อ.ศิริชัย กล่าวเพิ่มอีกว่า โครงการที่มีการถ่ายโอนจากส่วนราชการอื่นๆ มาให้ท้องถิ่นดำเนินการต่อนั้น จะต้องมีการหารือกันและกำหนดเป็นกลุ่มงานกลุ่มพื้นที่ และจัดระดับความเร่งด่วนให้ชัดเจน โดยจะเน้นการครอบคลุมในทุกพื้นที่ต่างๆ การหารือในเบื้องต้นถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดี โดยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาจัดสรรงบอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ และงบประมาณที่จะจัดสรรจะต้องเป็นงบประมาณที่ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและทั่วถึงจริงๆ ทุกเรื่องที่ใช้จ่ายจะต้องมีการตรวจสอบ และจะไม่ทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

                นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า หาก คสช.ไม่เข้ามาดำเนินการในการเรื่องนี้จะทำให้งบประมาณในการเบิกจ่ายจะล่าช้าไปอีก 6 เดือน เมื่อ คสช.เข้ามาจึงทำให้งบประมาณปี 2558 สามารถเดินไปได้ตามระบบ โดยวันที่ 1 ตุลาคม 2557 นี้ งบประมาณก็จะเบิกจ่ายได้ตามปกติ ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องเร่งรัดในการดำเนินการ โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ทั้งนี้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็รู้อยู่แล้ว ไม่เฉพาะในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเท่านั้น

                “ตอนนี้เหลือเวลาเพียงอีก 2 เดือน ในการพิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 หากไม่เร่งรีบในการดำเนินการจะไม่สามารถประกาศใช้งบประมาณได้ ทั้งนี้ หากเป็นงบประมาณตามปฏิทินปกติจะต้องมีการพิจารณาก่อนหน้านี้พอสมควร แต่เมื่อไม่มีเวลาก็จะต้องทำให้ขั้นตอนมันสั้นลง เมื่อสั้นลงแล้วก็จะต้องมีกระบวนการในดำเนินการ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม แต่การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี จะได้รู้ข้อมูลต่างๆ อะไรมีช่องว่าง หรือช่องโหว่ จะได้มีการแก้ไขให้เกิดเป็นระบบต่อไป”

                นายวัลลภ กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวต้องการจะให้งบประมาณมีการกระจายเพื่อให้เกิดการครอบคลุมในทุกพื้นที่ อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคก็จะนำไปประกอบการพิจารณาอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ส่วนที่มีการมองกันว่า ที่ผ่านมางบประมาณในส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการทุจริตนั้น เรื่องนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายตามอำนาจกฎหมายไปกำกับดูแล ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบโครงการสำคัญ หากโครงการไหนไม่จำเป็น ก็จะไม่มีการพิจารณาในช่วงนี้ โครงการที่จะได้รับการอนุมัติจะต้องเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก

                อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า ทุกโครงการจะต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ที่ผ่านมามักจะมีข่าวในลักษณะที่ว่า นักการเมืองมักจะใช้งบประมาณในส่วนของท้องถิ่นมาทำประโยชน์ให้แก่พวกตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้การเบิกจ่ายใช้งบประมาณจะต้องมีความละเอียดและรอบคอบ เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญการจัดสรรงบประมาณจะต้องกระจายให้ทั่วถึง และเป็นโครงการสนองตอบต่อประชาชนเป็นหลักและเป็นธรรม ที่ผ่านมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

                โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการทบทวนแผนปฏิบัติการทุกปี เพื่อให้ทันต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 2558 ดังนั้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2560 จากแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2558 ให้สอดคล้องกับภารกิจและความคล่องตัวในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


.....................
(หมายเหตุ : คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58)

ปปช. เดินหน้าตรวจสอบ-ขอข้อมูลการเปิดเผยราคากลางของ อปท.




โดย ปปช. ทำหนังสือถึงนายก-ผู้บริหารท้องถิ่น ว่า ปปช. จะดำเนินการตรวจสอบการเปิดเผยราคากลางและวิธีการคำนวณราคากลางของการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตามสัญญาเกินกว่า 100,000 ขึ้นไป ตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ฯ ตามพรบ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประกอบกับคำสั่งของ คสช. เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ

ปปช. ประจำจังหวัด ... จึงขอความร่วมมือมายังหน่วยงานท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดทำและจัดส่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตามสัญญาเกินกว่า 100,000 ขึ้นไป ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 (จนถึงปัจจุบัน) รายละเอียดได้แก่

- จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่จะต้องประกาศราคากลาง
- สำเนาประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
- สำเนาประกาศราคากลาง ทุกแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม


***แหล่งข่าว http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,58961.0.html

ads.txt

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0