สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

#‎มติที่ประชุม‬ เห็นชอบร่างบัญชีโครงสร้างอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นในระบบแท่ง (บัญชี ๒)

‪#‎มติที่ประชุม‬ เห็นชอบร่างบัญชีโครงสร้างอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นในระบบแท่ง (บัญชี ๒) ในแนวทางที่ ๑ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ หรือวันที่เปลี่ยนเข้าสู่ระบบแท่งเป็นต้นไป สำกรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการได้รับเงินประจำตำแหน่งและวิธีการจ่ายเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปที่ ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. กำหนด ตามมาตรา ๑๗(๔) มาตรา ๒๔ วรรคเจ็ด และมาตรา ๒๖ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการไปพิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/เพิ่มเติมตามความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของที่ประชุม แล้วนำเสนอ ก.ถ. พิจารณาต่อไป
‪#‎คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น‬

ปลัด'ท้องถิ่น'ค้านโยกย้ายทุก ๔ ปี

ปลัด'ท้องถิ่น'ค้านโยกย้ายทุก ๔ ปี
ข่าว นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ คอลัมน์ ปกครองท้องถิ่น <หน้า ๒๗>
‪#‎การเข้าสู่ระบบแท่งของท้องถิ่น‬ : เจาะประเด็นร้อนอปท.
‪#‎สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์‬ ปีที่ ๖๓ ฉบับที่ ๑๒ วันศุกร์ที่ ๔ - วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ <หน้า ๘๐> โดย สรณะ เทพเนาว์
นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย


วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประชุม‬ คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ ๘/๒๕๕๘

ประชุม‬ คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ ๘/๒๕๕๘ โดย นายไพฑูรย์ บุญวัฒน์ ประธานอนุกรรมการ
ณ ห้องประชุมสำนักงาน ก.ถ. ชั้น ๘ อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย
‪#‎เรื่องเพื่อพิจารณา‬
- การจัดทำโครงสร้างบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นในระบบแท่ง (บัญชี ๒)

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขอเรียน เพื่อน ๆ พี่น้อง ที่รักทุกท่าน ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีกับ นาย สรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม


ขอเรียน เพื่อน ๆ พี่น้อง ที่รักทุกท่าน ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีกับ นาย สรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง  โดย ท่าน ปลัดสรณะ เทพเนาว์ จะเดินทางมารับตำแหน่งใหม่ ในตำแหน่ง ปลัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558  ท่านใดมีเวลาว่างเรียนเชิญ ที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม นะครับ

อ.สถ.คนใหม่สั่ง เงินเดือน 4 % ต้องจบเดือนนี้


-ในการมาบรรยายที่โรงแรมลองบีช ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ของ พ.จ.อ.ชนินทร์ ราชมณี ผอ.ส่วนประสานการถ่ายโอนและมาตรฐานตำแหน่ง สำนักพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา แจ้งต่อที่ประชุมว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นคนใหม่ (นายจรินทร์ จักกะพาก) ได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินเดือนของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ต้องปรับตามมติครม.ร้อยละ 4 ได้สั่งการต่อที่ประชุมว่า เดือนนี้ ให้จบ ในส่วนของผู้ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสายงานบริหารระดับ ๖/๗ สำหรับสายงานบริหารให้รอการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยต่อไป
-ฉะนั้น ปลายเดือนนี้ หาก ก.กลาง เห็นชอบ ตามคำสั่งของ อ.สถ.คนใหม่ คาดว่า เดือนพฤศจิกายน น่าจะสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของ ก.จังหวัด และเดือนธันวาคม 2558 สายปฏิบัติตั้งแต่ระดับ 7 ลงมา น่าจะได้ตกเบิกย้อนหลัง 1 ปีเต็ม พอดิบพอดีกับ โบนัสปี 2558 ออกในเดือนธันวาคมด้วยเช่นกัน ต้อนรับปีใหม่ 2559 "ยินดีด้วยครับน้องๆ ทุกท่าน"

แหล่งข่าว ป.พิพัฒน์ https://www.facebook.com/phiphatw

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

เดินหน้าเข้าสู่ ‪#‎ระบบแท่ง‬ สำหรับการบริหารงานบุคคลข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลงนามโดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ครับ...

เดินหน้าเข้าสู่ ‪#‎ระบบแท่ง‬ สำหรับการบริหารงานบุคคลข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลงนามโดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ครับ...




สรุปรายการสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี 2558 ย้อนรอย งานวิชาการ การปฏิรูปการเมืองไทย


วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปมติ ก.กลาง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558โดยนายสรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง กรรมการ ก.ท.

สรุปมติ ก.กลาง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558
โดยนายสรณะ เทพเนาว์  ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง กรรมการ ก.ท.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน
ต้นเรื่อง ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ได้วางหลักเกณฑ์และแนวทางการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนปลัด อปท.ไว้ แต่ในทางปฏิบัติ พบว่า ในกรณีจำเป็นที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดหรือรองปลัด อปท. หรือผู้อำนวยการกองในคราวเดียวกัน หรือมีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ อันเนื่องมาจากมีลักษณะต้องห้ามหรือเป็นคู่กรณีตามที่กฎหมายบัญญัติ ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคว่า ผู้ใดจะเป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดเทศบาล อปท. ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของท้องถิ่นสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้อย่างถูกต้อง มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การรักษาราชการแทน
ข้อพิจารณา  เพื่อให้การรักษาราชการแทนปลัดหรือผู้อำนวยการกองแล้วแต่กรณีมีความคล่องตัว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมแนวทางการรักษาราชการแทนไว้ โดยเทียบเคียงกับการรักษาราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วย การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งกำหนดว่าให้ผู้ซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ดังนี้
ประกาศ ก.ท. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้าง การแบ่งส่วนราชการ วิธีการบริหาร และการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล และกิจการอันเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลในเทศบาล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544  (แก้ไข) ข้อ 16 ในกรณีที่ไม่มีปลัดเทศบาล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดเทศบาลเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดเทศบาลหลายคนให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองปลัดเทศบาลคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งพนักงานเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง  ให้รองปลัดเทศบาลหรือผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองที่มีอาวุโสตามแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน

เห็นชอบ การยกเลิกขนาดเทศบาล เป็นประเภทสามัญ
อ.ก.ท.โครงสร้างในการประชุมครั้งที่ 11/2558 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 พิจารณาแล้ว เห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ขนาดและระดับตำแหน่งของเทศบาล ดังนี้
1. ประเภทของเทศบาล
       การกำหนดขนาดเทศบาลสามัญ และใหญ่ นั้น อ.ก.ท.โครงสร้าง เห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อเทศบาลจาก เทศบาลสามัญและขนาดใหญ่ แก้ไขเป็นให้มีเทศบาล 2 ประเภท คือ ประเภทสามัญ และประเภทพิเศษ
       ประเภทพิเศษ ระดับตำแหน่งของปลัดเทศบาล คือ ระดับ 9 และระดับ 10 (เฉพาะราย)
                  ประเภทสามัญ  ระดับตำแหน่งของปลัดเทศบาล คือ ระดับ 7/6 (คุ้มครองเฉพาะรายกรณีเทศบาลมีรายจ่ายด้านการบริหารงานบุคคลเกิน ร้อยละ 35) ระดับ 8 ระดับ 9
              2. โครงสร้างการกำหนดตำแหน่งผู้บริหาร
                   2.1 ให้เทศบาลประเภทสามัญกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 ผู้อำนวยการกองเป็นระดับ 7 หรือ ระดับ 8 และรองปลัดเทศบาลเป็นระดับ 7 หรือระดับ 8 ตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ การกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ระดับ 8 ให้ยกเลิกเกณฑ์รายได้รวมเงินอุดหนุนทั่วไปในปีงบประมาณที่ผ่านมา ตั้งแต่ 40 ล้านบาท  ขึ้นไป แก้ไขเป็นเทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายด้านบริหารงานบุคคลตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.บริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 ไม่เกินร้อยละ 35 และผ่านการวิเคราะห์ค่างานตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ท. กำหนด
                  2.2 ให้เทศบาลประเภทพิเศษกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 9 รองปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 หรือ 9 ตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้อำนวยการสำนักเป็นระดับ 9 ตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้อำนวยการกองเป็นระดับ 8 ทั้งนี้ ให้เทศบาลประเภทพิเศษสามารถกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 10 ได้เป็นการเฉพาะราย
              3. เกณฑ์การปรับขนาดเทศบาล ประกอบด้วย 3 เกณฑ์ ดังนี้
                  3.1 เกณฑ์ตัวชี้วัดพื้นฐาน  โดยกำหนดตัวชี้วัดพื้นฐาน จำนวน 5 รายการ
                  3.2 เกณฑ์ปริมาณงาน  โดยกำหนดเกณฑ์ผ่านด้านปริมาณงานต้องได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 60
                  3.3 เกณฑ์ประสิทธิภาพ  โดยให้เทศบาลจัดทำผลงานดีเด่นที่แสดงถึงผลสำฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน  ที่เกิดประโยชน์ต่อทางราชการอันเป็นผลเชิงประจักษ์อย่างน้อย 6 ด้าน
              4. บทเฉพาะกาล
                  ให้เทศบาลประเภทสามัญที่ปลัดเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งในระดับ 6 และระดับ 7 ปรับโครงสร้างและระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลเป็นระดับ 8 ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
                                1.เทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2542
              ในปีงบประมาณปัจจุบันไม่เกินร้อยละ 35 สำหรับเทศบาลใดทีมีภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 35
              ให้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลยังคงเป็นระดับเดิมไปพลางก่อน


2.เมื่อตำแหน่งปลัดเทศบาลปรับเป็นระดับ 8 แล้ว การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลที่ว่าง
             ในครั้งแรก ให้ดำเนินการสรรหาด้วยวิธีการคัดเลือกพนักงานเทศบาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับทีสูงขึ้น
             สำหรับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาลเท่านั้น (ปลัดเทศบาล ระดับ 7/รองปลัดเทศบาล ระดับ 8) หากดำเนินการ
             สรรหาแล้วไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม เทศบาลสามารถดำเนินการสรรหาด้วยการ
             โอน/สอบคัดเลือกหรือการคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้น/การคัดเลือกเพื่อรับโอน วิธีการใดวิธีหนึ่ง ตามที่เห็นสมควร


วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประธาน สปช. ยืนยัน หารือนอกรอบ คงกรอบ 37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนา


16 มิ.ย. 58 -    ประธาน สปช. ยืนยันผลการรือนอกรอบ คงกรอบ37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนาตามแผนเวลาที่กำหนด คาดลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ 5-7 ก.ย. นี้ ก่อนสิ้นสุดวาระ เตรียมเสนอ 5 เอกสารประมวลผลการทำงานต่อรัฐบาล
     นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กล่าวต่อที่ประชุม สปช. ถึงผลการหารือนอกรอบวานนี้(15 มิ.ย.58)เรื่องแนวทางการทำงานและแผนวาระการปฏิรูปประเทศว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 คาดจะมีผลให้ สปช. ได้รับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ในวันที่ 22 ส.ค. 58 และจะมีผลให้ สปช. ต้องลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในวันที่ 5 - 7 ก.ย. 58 และ สปช. ต้องสิ้นสุดวาระปฏิบัติงานทันที ขณะ สปช. สามารถเสนอคำถามในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญได้ 1 คำถาม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สปช. ยังคงยืนยันแผนงานตามที่กำหนดไว้เดิมทุกประการ คือทุกคณะกรรมาธิการได้นำเสนอกรอบแนวคิดการปฏิรูป ทั้ง 37 วาระปฏิรูป และ 6 วาระการพัฒนา ก่อนวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา และทำการแก้ไขปรับปรุงก่อนเสนอ สปช.อีกครั้งภายในวันที่ 30 มิ.ย. จากนั้นเสนอ สปช.ให้ความเห็นชอบแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งไม่ช้ากว่าวันที่ 22 ส.ค. วันสุดท้ายที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากกรรมาธิการยกร่างฯ และหากวาระปฏิรูปใดจำเป็นต้องมีกฎหมายประกอบ และสามารถยกร่างได้ทันย่อมเสนอพร้อมแผนปฏิรูปฉบับสมบูรณ์ได้ทันที พร้อมกันนี้ สปช.ได้ทยอยเสนอแผนปฏิรูปต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตามที่ได้ตกลงไว้กับรัฐบาลแล้ว
     ประธาน สปช. กล่าวต่อไปว่า ก่อนหมดวาระ สปช.จะประมวลผลการปฏิบัติงานทั้งหมดเสนอต่อ ครม. ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ซึ่งจะประกอบด้วย เอกสารวิสัยทัศน์และอนาคตภาพประเทศไทย เอกสารแผนปฏิรูปทั้ง 37 วาระการปฏิรูปและ 6 วาระการพัฒนา รวมทั้งวาระการปฏิรูปเฉพาะ(Quick Win) เอกสารแสดงประเด็นการปฏิรูปหลักซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นกุญแจสำคัญและมีความเชื่อมโยงกับวาระปฏิรูปอื่น ซึ่งรวมถึงเอกสารการปรับกลไกภาครัฐและระบบบริหารราชการแผ่นดินด้วย นอกจากนี้ สปช.เตรียมจัดสัมมนาเฉพาะสมาชิก ในวันพุธที่ 24 มิ.ย. นี้ ที่ ร.ร.รามาการ์เด้นท์
     ทั้งนี้ หลังการชี้แจงถึงผลการหารือนอกรอบแล้ว ประธาน สปช. ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกในการอภิปรายให้สั้น อภิปรายเฉพาะประเด็นสำคัญซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ประเด็นเห็นต่าง ข้อเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในวาระปฏิรูป  เนื่องจาก สปช.มีเวลาการทำหน้าที่อีกไม่มาก

ลักขณา เทียกทอง ข่าว/เรียบเรียง 

มอบผลงานการประชุมสัมมนาสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย

มอบผลงานการประชุมสัมมนาสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย หัวข้อเรื่อง ยุทธศาสตร์การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา แด่ ศาสตราจารย์ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ณ อาคารรัฐสภา



คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58


คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58
คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58
                คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้า คสช. มอบหมายให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร เป็นประธานคณะกรรมการในการขับเคลื่อนเพื่อให้การจัดสรรเงินงบประมาณปี 2558 ทันใช้ในการบริหารประเทศในวันที่ 1 ตุลาคม 2557

                จากนั้นก็ออกคำสั่งให้ชะลอการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่หมดวาระ หรือสิ้นสภาพออกไปก่อน โดยให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะใน กทม.ที่ ส.ก.-ส.ข.ที่ครบวาระ หรือสิ้นสภาพ ก็ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติมารับตำแหน่งไปก่อน

                พล.อ.ศิริชัย พร้อมด้วย พล.ร.อ.อิทธิคมน์ ภมรสูต รองเสนาธิการทหาร พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ ได้ลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดทำงบประมาณปี 2558 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี และส่วนราชการในพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อร่วมกันชี้แจงข้อมูล ปัญหาข้อขัดข้อง และอุปสรรคต่างๆ รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่

                พล.อ.ศิริชัย เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ จ.สระบุรี เพื่อมารับทราบข้อมูลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี โดย คสช.ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการดำเนินการในเรื่องเงินหนุนที่จะลงมายังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งทาง คสช.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาขับเคลื่อนงบประมาณดังกล่าว เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารงบประมาณให้ดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยการบูรณาการทั้งบุคลากร งบประมาณ แผนงานโครงการต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งระบบทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

                นอกจากนี้การดำเนินการจะต้องมีการแยกกลุ่มงานตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งการจัดลำดับงานก่อสร้าง งานซ่อมแซมที่จะต้องลงไปในทุกพื้นที่ภาคทุกและทุกจังหวัดให้ครอบคลุมเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด สำหรับเรื่องรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บให้ไปพิจารณาในวาระที่ 2 หรือในช่วงการปฏิรูปประเทศ ถ้าส่วนท้องถิ่นใดมีการจัดเก็บเงินได้มากก็ให้มีการจัดสรรเงินใหม่ เพื่อให้เกิดเป็นระบบต่อไปในอนาคต

                ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณของ คสช.ก็เพื่อต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนโดยรวม ให้เกิดความยั่งยืน ไม่สร้างปัญหาในระยะยาว ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่และเป็นธรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่ได้รับการดูแลมาก่อน

                “การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อมาตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ ที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้นำเสนอขึ้นมา ทั้งนี้นโยบายที่ คสช.มอบหมายพิเศษคือ การยึดหลักในเรื่องการกระจายอำนาจ และการบริหารจัดสรรงบประมาณ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะดูถึงเรื่องความต้องการของประชาชนที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร จึงจะมีการสอบถามจากประชาชน โดยจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังมีการเน้นย้ำเกี่ยวกับแผนงานต่างๆ จะต้องมีความละเอียด และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติได้อย่างจริงจังและทันที”

                พล.อ.ศิริชัย กล่าวเพิ่มอีกว่า โครงการที่มีการถ่ายโอนจากส่วนราชการอื่นๆ มาให้ท้องถิ่นดำเนินการต่อนั้น จะต้องมีการหารือกันและกำหนดเป็นกลุ่มงานกลุ่มพื้นที่ และจัดระดับความเร่งด่วนให้ชัดเจน โดยจะเน้นการครอบคลุมในทุกพื้นที่ต่างๆ การหารือในเบื้องต้นถือว่าอยู่ในทิศทางที่ดี โดยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาจัดสรรงบอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ และงบประมาณที่จะจัดสรรจะต้องเป็นงบประมาณที่ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและทั่วถึงจริงๆ ทุกเรื่องที่ใช้จ่ายจะต้องมีการตรวจสอบ และจะไม่ทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

                นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า หาก คสช.ไม่เข้ามาดำเนินการในการเรื่องนี้จะทำให้งบประมาณในการเบิกจ่ายจะล่าช้าไปอีก 6 เดือน เมื่อ คสช.เข้ามาจึงทำให้งบประมาณปี 2558 สามารถเดินไปได้ตามระบบ โดยวันที่ 1 ตุลาคม 2557 นี้ งบประมาณก็จะเบิกจ่ายได้ตามปกติ ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องเร่งรัดในการดำเนินการ โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ทั้งนี้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็รู้อยู่แล้ว ไม่เฉพาะในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเท่านั้น

                “ตอนนี้เหลือเวลาเพียงอีก 2 เดือน ในการพิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 หากไม่เร่งรีบในการดำเนินการจะไม่สามารถประกาศใช้งบประมาณได้ ทั้งนี้ หากเป็นงบประมาณตามปฏิทินปกติจะต้องมีการพิจารณาก่อนหน้านี้พอสมควร แต่เมื่อไม่มีเวลาก็จะต้องทำให้ขั้นตอนมันสั้นลง เมื่อสั้นลงแล้วก็จะต้องมีกระบวนการในดำเนินการ ที่ผ่านมาไม่เคยมีการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม แต่การลงพื้นที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี จะได้รู้ข้อมูลต่างๆ อะไรมีช่องว่าง หรือช่องโหว่ จะได้มีการแก้ไขให้เกิดเป็นระบบต่อไป”

                นายวัลลภ กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวต้องการจะให้งบประมาณมีการกระจายเพื่อให้เกิดการครอบคลุมในทุกพื้นที่ อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคก็จะนำไปประกอบการพิจารณาอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ส่วนที่มีการมองกันว่า ที่ผ่านมางบประมาณในส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการทุจริตนั้น เรื่องนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายตามอำนาจกฎหมายไปกำกับดูแล ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบโครงการสำคัญ หากโครงการไหนไม่จำเป็น ก็จะไม่มีการพิจารณาในช่วงนี้ โครงการที่จะได้รับการอนุมัติจะต้องเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก

                อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า ทุกโครงการจะต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ที่ผ่านมามักจะมีข่าวในลักษณะที่ว่า นักการเมืองมักจะใช้งบประมาณในส่วนของท้องถิ่นมาทำประโยชน์ให้แก่พวกตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้การเบิกจ่ายใช้งบประมาณจะต้องมีความละเอียดและรอบคอบ เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญการจัดสรรงบประมาณจะต้องกระจายให้ทั่วถึง และเป็นโครงการสนองตอบต่อประชาชนเป็นหลักและเป็นธรรม ที่ผ่านมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

                โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการทบทวนแผนปฏิบัติการทุกปี เพื่อให้ทันต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประเทศและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 2558 ดังนั้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2560 จากแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2558 ให้สอดคล้องกับภารกิจและความคล่องตัวในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


.....................
(หมายเหตุ : คสช.เดินหน้าจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นปี58)

ปปช. เดินหน้าตรวจสอบ-ขอข้อมูลการเปิดเผยราคากลางของ อปท.




โดย ปปช. ทำหนังสือถึงนายก-ผู้บริหารท้องถิ่น ว่า ปปช. จะดำเนินการตรวจสอบการเปิดเผยราคากลางและวิธีการคำนวณราคากลางของการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตามสัญญาเกินกว่า 100,000 ขึ้นไป ตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ฯ ตามพรบ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประกอบกับคำสั่งของ คสช. เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ

ปปช. ประจำจังหวัด ... จึงขอความร่วมมือมายังหน่วยงานท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดทำและจัดส่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตามสัญญาเกินกว่า 100,000 ขึ้นไป ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 (จนถึงปัจจุบัน) รายละเอียดได้แก่

- จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่จะต้องประกาศราคากลาง
- สำเนาประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
- สำเนาประกาศราคากลาง ทุกแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม


***แหล่งข่าว http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,58961.0.html

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่



วันศุกร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ประธานอนุกรรมาธิการยุทธศาสตร์และที่ปรึกษา เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน สปช. และ คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน สนช. ณ ห้อง ๒๒๐ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
‪#‎พิจารณารายงานเรื่อง‬ : การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและร่าง พรบ.ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ...





ปาฐกถาพิเศษ บทบาทของข้าราชการท้องถิ่น การตอบแทนพระคุณแผ่นดิน




วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ประชุมคณะอนุกรรมาธิการยุทธศาสตร์ชาติ เรื่อง : การจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติ โดย พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ ประธานอนุฯ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข ๒๒๐ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒





วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หนังสือขอบคุณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ได้ดำเนินการเผยแพร่ภาพออกอากาศ โครงการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ประจำปี ๒๕๕๘ เรื่อง "ยุทธศาสตร์การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่" นั้น กระผมในฐานะนายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ขอขอบคุณ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือ และสนับสนุน ครับ



อภิปราย : คณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา วาระการปฏิรูปที่ ๑๙ การกีฬา วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘

อภิปราย : คณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา วาระการปฏิรูปที่ ๑๙ การกีฬา วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

บันทึกเทป โดย ช่อง NBT กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกนายกรัฐมนตรี
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘
สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
และสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี ๒๕๕๘
เรื่อง "ยุทธศาสตร์การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ


บทความพิเศษ การเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการบริหารงานท้องถิ่น

ข่าว นสพ.สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ปีที่ ๖๕ ฉบับที่ ๒๒๖๖๒ <คอลัมน์การเมืองท้องถิ่น>~หน้า ๑๐ ‪#‎บทความพิเศษ‬ โดย
สรณะ เทพเนาว์
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ : ด้านการปกครองท้องถิ่น
‪#‎นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย‬

มาตราไหน ประเด็นใด จ่อทบทวน ลดแรงต้าน


การปฏิรูป การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น

๒๙ เมษายน ๒๕๕๘ ข่าวหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๘ (กรอบบ่าย) ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๑๓๕๖๓ หน้า ๒๗ คอลัมน์ <ปกครองท้องถิ่น>

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

สรณะ เทพเนาว์ แนวทางการปฏิรูปการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น 8เมษา58

ข้อเสนอแนวคิด เรื่อง สภาพลเมืองในระดับพื้นที่ (Civil Juries) ที่มีการกล่าวถึงแนวคิดนี้อย่างแพร่หลาย และข้อเสนอเรื่องปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น


ข้อสับสนของการเบิกเงินเพื่อชำระค่าลงทะเบียนอบรมแก่หน่วยงานเอกชนเป็นผู้จัด


ผมมักจะพบคำถาม ตอบ ในเฟสบุ๊คเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนอบรมกับหน่วยงานเอกชนที่เป็นผู้จัด  หากเบิกเงินเกิน 600 บาทแล้ว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจสั่งให้ท่านใช้เงินคืนบ้าง เรียกเงินคืนบ้าง   บางท่านก็แนะนำให้ฟ้องศาลปกครอง  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อแนะนำที่หลงทางทั้งนั้น
              ก่อนอื่นใด ผมขอแนะนำให้ท่านมีความรู้และเข้าใจในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นอันดับแรกก่อนว่า  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินนั้นเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐในเรื่องการใช้เงิน ตามมาตรา 312 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 39 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้กำหนดบังคับให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่ต้องทำการตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ และอาจตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน การใช้จ่ายทรัพย์สินอื่น หรือการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน งานหรือโครงการของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัด ได้ผลตามเป้าหมายและมีผลคุ้มค่าหรือไม่
                 เมื่อพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่สำนักการตรวจเงินแผ่นดินได้เข้าตรวจสอบหลักฐานการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับตรวจแล้ว   เจ้าหน้าที่สำนักการตรวจเงินแผ่นดินจะต้องเอากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมายึดถือไว้เป็นหลักในการตรวจสอบ และพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานคือเอกสารเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินของผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่นว่า เป็นไปตามข้อ 67 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือไม่ อย่างไร เป็นลำดับแรกก่อน และต่อมาต้องพิจารณาว่า หน่วยงานรับตรวจได้ใช้จ่ายเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัด ได้ผลตามเป้าหมายและมีผลคุ้มค่าหรือไม่ เป็นลำดับที่สอง
                        ดังนั้น  การที่เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบหลักฐานการเบิกค่าใช้จ่ายของผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่นแล้วพบว่า หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับตรวจได้จ่ายเงินค่าลงทะเบียนอบรมเป็นจำนวนเงินมากกว่าวันละ 600 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๙  ข้อ ๒๒ (๒) ซึ่งกำหนดให้จ่ายได้เพียงแค่วันละ ๖๐๐ บาทเท่านั้น เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงตั้งข้อสังเกตไว้ว่า  การเบิกเงินตามหลักฐานที่ตรวจพบดังกล่าวนั้น น่าจะไม่เป็นไปตามข้อ 67 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗  ประกอบกับข้อ ๒๒ (๒) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๙  เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงได้สอบถามข้อเท็จจริงจากนายกฯ และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังว่า  ตามที่หน่วยงานได้เบิกเงินตามฎีกาเพื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนเข้าอบรมกับหน่วยงานเอกชนนั้นหน่วยงานได้จ่ายเงินเกินกว่าวันละ 600 บาท อันเป็นการจ่ายเงินที่ขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๙  ข้อ ๒๒ (๒) ซึ่งกำหนดให้จ่ายได้เพียงแค่วันละ ๖๐๐ บาทเท่านั้น เพราะเหตุใดจึงจ่ายเงินมากกว่าที่ระเบียบกำหนด ให้ชี้แจง ในลักษณะบันทึกสองขาบ้าง สอบถามด้วยวาจาบ้าง
                     แต่สิ่งที่ผมมักจะพบอยู่เสมอ ว่า  แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องการเข้าใจผิดของนายกฯ และพนักงานส่วนท้องถิ่นในปัญหาดังกล่าว ดังนี้
                    กรณีแรก เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพียงแต่สอบถามข้อเท็จจริงว่า การเบิกจ่ายเงินนั้นผิดระเบียบ แต่นายกฯ  และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังพากันเข้าใจว่า  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสั่งให้คืนเงินเสียแล้ว
                    กรณีที่สอง  นายกฯ และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังไม่สามารถชี้แจงหลักการและเหตุผลในการอนุมัติจ่ายเงินค่าลงทะเบียนกับหน่วยงานเอกชนให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้  ครั้นเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกลับไปแล้ว และทำหนังสือแจ้งข้อทักท้วงกลับมาว่า การเบิกเงินเพื่อชำระค่าลงทะเบียนอบรมกับเอกชนเกิน 600 บาทนั้น เป็นการเบิกเงินไม่เป็นไปตามข้อ 22(2) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2549 ขอให้หน่วยงานเรียกเงินคืนเงินส่วนที่เกินจากผู้ที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงาน แต่กลับปรากฏว่า นายกฯ  และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังพากันเข้าใจว่า  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรียกเงินคืนเสียแล้ว
                     ความจริงแล้วตามปัญหาข้างต้น เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพียงสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินตามฎีกาว่า การเบิกเงินเพื่อชำระค่าลงทะเบียนอบรมกับเอกชนเกิน 600 บาทนั้น เป็นการเบิกเงินไม่เป็นไปตามข้อ 22(2) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2549 จึงแจ้งแนะนำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกเงินจากผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น  มิใช่เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีคำสั่งให้คืนเงินแต่อย่างใด  แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานผู้รับตรวจมีหน้าที่ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า หน่วยงานของตนมีอำนาจในการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเพราะอะไร   ทั้งนี้ตามข้อ 102 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือรับเงิน และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับตรวจ มีหน้าที่ชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และหากได้รับข้อทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกและหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังปฏิบัติตามคำทักท้วงโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสี่สิบห้าวันนับจากวันที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการแจ้งข้อทักท้วงนั้น   แต่หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่านไม่เห็นด้วยกับหนังสือแจ้งข้อทักท้วงดังกล่าว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับตรวจชอบที่จะชี้แจงข้อทักท้วงไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง   แต่หากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยืนยันว่ายังไม่มีเหตุผลที่จะล้างข้อทักท้วง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชี้แจงเหตุผลและรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับคำยืนยันจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งผลการวินิจฉัยภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับรายงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับทราบผลการวินิจฉัย ทั้งนี้ตามข้อ 103 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗
                  แต่อย่างไรก็ตาม การคืนเงินให้แก่หน่วยงานนั้น ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายนัก  เพราะการมีคำสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องคืนเงินได้นั้น  จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539  กล่าวคือจะต้องทำเป็นคำสั่งทางปกครอง โดยมีรูปแบ ขั้นตอนและวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นสำคัญ  นายกฯ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานของของรัฐที่ได้รับความเสียหาย จะต้องออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสิบสวนข้อเท็จจริง แต่งตั้งกรรมการสอบสวนความรับผิดทางละเมิด  เพื่อให้กรรมการสอบสวนนั้นทำการสอบสวนว่า  การเบิกจ่ายเงินเพื่อชำระค่าอบรมกับเอกชนนั้น  ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เป็นการกระทำผิดกฎหมาย หรือไม่ ทำให้หน่วยงานได้รับความเสียหาย หรือไม่  และความเสียหายนั้น ต้องเป็นผลโดยตรงจากกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้เบิกเงินด้วย  กว่าจะถึงขั้นตอนสุดท้ายเพื่ออกคำสั่งทางปกครอง ก็สามารถสรุปได้ว่า  ไม่เป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ  โดยไม่ต้องไปฟ้องศาลปกครองให้เสียเวลา
ดังนั้น การที่ผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่นไม่อยากให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทักท้วงเหตุดังกล่าว ก็ควรมีเหตุผลชี้แจงในการเบิกเงิน  ซึ่งนายกฯ มีอำนาจอิสระในการพิจารณาอนุมัติให้เบิกค่าใช้จ่ายในการอบรม ว่า “ได้พิจารณาหลักสูตรการอบรมนั้นอย่างรอบคอบ โดยให้พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือ หรือชื่อเสียงของหน่วยงานผู้จัด เนื้อหาหลักสูตร ว่า ตรงกับความต้องการ และมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับหลักสูตร หรือไม่”[i] เพื่อพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานให้มีทักษะ ความรู้ หรือเพิ่มพูนประสบการณ์ และไปใช้ประโยชน์สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการอำนาจหน้าที่ต่อไป
               หากรัฐใช้อำนาจกำกับดูแลห้ามมิให้เบิกค่าลงทะเบียน จึงเป็นการขัดต่อความต้องการของ อปท. ทั้งนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.61/2549  ระหว่าง เทศบาลนครระยอง ผู้ฟ้องคดี กับ กระทรวงมหาดไทย ที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี



[i] หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท.0807.2/ว 743 ลงวันที่ 8 เมษายน 2551 และหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท.0807.2/ว 477 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554


 ภัฏ  พงศ์ธามัน

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

การตรวจสอบของ สตง.ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


บรรยายพิเศษ เรื่อง “การตรวจสอบของ สตง. ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”


วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

ขึ้นเงินเดือนแล้วครับ มติ26 มีนาคม2558



เมื่อวันที่26 มีนาคม 2558 เวลาประมาณ 17.30 น. ภายหลังการเลิกประชุมของ ก กลาง ท้องถิ่นนั้น  พ.จ.อ.ชนินทร์ ราชมณี ผู้อำนวยการส่วนประสานการถ่ายโอนบุคลากรและมาตรฐานตำแหน่ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้โพสข้อความบนเฟชบุค โดยแจ้งเรื่องสำคัญของ "ผลมติ ก กลาง ประจำวันที่ 26 มี.ค. 58 ในด้านต่างๆ" ดังนี้



สวัสดี ครับทุกท่าน วันนี้มีการประชุม ก.กลาง (ก.จ. , ก.ท. และ ก.อบต.) ซึ่งได้มีมติในเรื่องสำคัญ ๆ หลายเรื่อง เช่น
1. เห็นชอบให้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้าง และพนักงานจ้างของ อปท. ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ใช้คุณวุุฒิการศึกษาต่ำกว่า ป.ตรี ให้ได้รับค่าครองชีพชั่วคราว 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วถ้ายังไม่ถึง 10,000 ก็เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเข้าไปรวมอีกให้ถึง 10,000 บาท แต่ถ้ารวมแล้วได้เกิน 10,000 แต่ยังไม่เกิน 13,285 บาท ก็ได้เท่ากับที่รวมได้ แต่ถ้ารวมแล้วได้เกิน 13,285 บาท ก็ให้ได้แค่ 13,285 บาท

2.รับทราบการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่นในระบบแท่ง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ให้มีการยุบรวมสายงานที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันเข้าเป็นสายงานเดียวกัน เปลี่ยนชื่อตำแหน่งประเภทวิชาการ (สาย 3) โดยเพิ่มคำว่านักวิชาการ หรือนักไว้หน้าชื่อตำแหน่ง เพิ่มสายงานที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจของ อปท. ซึ่งจะทำให้สายงานของ อปท. ที่มีอยู่ในปัจจุบันจำนวน 140 สายงาน คงเหลือ 99 สายงาน

3.มาตรการชลอการสอบแข่งขันของ อปท. เห็นชอบให้ อปท. ที่ชลอการสอบแข่งขันตามหนังสือ ที่ ว129 ลงวันที่ 24 ธ.ค.57 และ ว24 ลงวันที่ 11 มี.ค. 58 ดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการสอบแข่งขัน พ.ศ.2558 ในขั้นตอนต่างๆ อย่างเคร่งครัด 




ความหน้าของระบบแทงและยกเลิกระบบซีของข้าราชการท้องถิ่น

รัฐธรรมนูญ ใหม่ท้องถิ่นจะแข็งแกร่งกว่าเดิม ระบบการบริหารงานบุคคลที่ทำอยู่ ก็คงอยู่
ท้องถิ่นจะเข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม กถ.ก็มีเหมือนเดิม มีชุดเดียว มีไม่มากเหมือนปัจจุบันเป็น ก.เดียว
ระบบต่างๆ ไม่แตกต่างไปกว่าเดิม แต่จะเน้นการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ การโยกย้าย อาจจะใช้ องค์กรกลางเป็นผู้ย้าย

หัวสำนักงาน กถ.
มีการออกประกาศ กถ ฉบับที่ 4 เป็นการออกเป็นระบบแท่ง เหมือนพลเรือน 26 ธันวาคม 2557
วิจัยมาจากปี 2551 มาเสร็จ ปี 2553 มีการตั้งกรรมการมาศึกษาวิเคราะห์ ตลอดระยะเวลา หลายปีเพื่อความก้าวหน้าของ ข้าราชการท้องถิ่นกับข้าราชการอื่น
มีการยุบรวมเหลือ 99 สายงาน จะประชุม 16 เม.ย 58
มีการกำหนดมาตรตำแหน่งใหม่ทั้งหมด เพื่อให้โอนย้ายหากันได้ทุก ท้องถิ่น
ประกาศ กถ. กำหนดไว้ 4 ประเภท บริหาร อำนวย วิชาการ ทั่วไป
บริหาร  ปลัด รองปลัด
อำนวยการ ผอ หัวหน้าส่วน
วิชาการ สาย ปริญญาตรี  ไปได้ถึง เทียบเท่า ซี 8 สายใครสายมัน (ไปชำนาญการพิเศษ ไม่ต้องประเมินงานไปเลย)
ทั่วไป ต่ำกว่า ป.ตรี ไปถึงอาวุโส หรือเทียบเท่า 7 ได้เลย

การเลื่อนในระดับที่สูงขึ้น ต้องผ่านหลักสูตร อบรมที่ ก.กลาง กำหนด (ต้องเข้าโรงเรียน)ถึงจะแต่งตั้งได้
การเลือนขึ้นเงินเดือน จะสร้างหลักเกณฑ์ ใหม่ จะเลื่อนเงินเดือนแบบขั้นเหมือนเดิม (ไม่เลื่อนเป็น เปอร์เซ็นต์) ผลงาน 6 เดือนจะมีผลงาน 4 -7 เรื่อง ต้องทำเป็นข้อตกลงกับ ผู้บังคับบัญชา
การสรรหาบุคคล ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถ และทักษะการทำงาน
ตอนนี้ยังคงต้องใช้ พรบ.การบริหารงานบุคคล 2542 ต่อไป และ ก.กลาง จะต้องไปทำมาตรฐานทั่วไป ให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี
จะมีการประเมินผลและเยียวยา ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบการเข้าสู่ระบบแท่ง

จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายจัดตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วย ให้มี ก.เดียว ให้การบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย มาอยู่ส่วนกลาง
ให้ปลัดดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งหมด ท่านนายกฯ ดูแลท่านปลัด
จะเข้าแท่ง 1 มกราคม 2559
เรื่อง สำคัญ
1.ปรับบัญชีเงินเดือน 4 % ขั้นปรับไป 3 ขั้น  บัญชี 4 เสร็จไปแล้ว
2.ปรับเงินเดือน ระดับ ซี 7 ลงมา แท่ง ได้ 4  %  ระบบขั้น ได้ 1 ขั้น
3.ปรับ บัญชี 4 เสร็จไปแล้ว   16 เมษายน 2558 เข้าประชุมใหญ่ และ ก.กลาง ต้องไป แก้มาตรฐานทั่วไปครับ

การปรับเงินเดือน การให้ได้รับเงินเดือน เป็นหน้าที่ ก.กลาง  ระดับซี 7 ลงมาจะได้รับแน่นอน 1 ขั้น

เข้าแท่งแล้วแต่จะรับเงินเดือนเป็น ขั้น แต่ของแต่ละแท่ง (ของใครของมัน)
เงินประจำตำแหน่ง  อำนวยการทั้งหมด คือ นักบริหารทั้งหมด ได้เงินประจำตำแหน่ง
ที่ไหนเงินเดือนเกิน 40 % จะต้องไปบริหารให้ดี เพราะผิดกฎหมาย สิทธิประโยชน์ จะตามมามากมาย
ประเมินผลการบริหารงานบุคคลท้องถิ่น ให้ส่งกลับมาด่วนตามหนังสือที่แจ้งไป
ต่อไปการเลื่อนตำแหน่งระดับจะต้องผ่านการอบรม ทุกคน หรือเข้าโรงเรียน

โครงสร้าง เทศบาล เป็นสามัญ กับ ใหญ่ คนที่กระทบคือ ปลัดเทศบาล 7
ผอ ทุกตำแหน่ง จะเป็นอำนวยการ กลาง

หัวหน้าฝ่ายเป็นอำนวยการต้น

บรรยายกาศ การประชุมสัมมนาทางวิชาการ ปี 2558


สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย และสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี ๒๕๕๘
เรื่อง “ยุทธศาสตร์ การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่”
ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘
ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
จัดโดย สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ร่วมกับ
คณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ
คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สำนักงานเทศบาลตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

































ads.txt

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0