สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประชุมคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๗

วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. ประชุมคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๗ ณ ห้อง ๕๕๐๑ ชั้น ๕ อาคาร ๕ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น


วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปแรงงาน ห้องประชุม หมายเลข ๓๗๐๑ ชั้น ๗ อาคารรัฐสภา ๓ เพื่อพิจารณากรอบและข้อเสนอแนะ..





๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน โดย พลโท เดชา ปุญญบาล ประธาน กมธ. ปฏิรูปการแรงงาน ห้อง ๓๗๐๑ ชั้น ๗ อาคารรัฐสภา ๓






วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ

หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ปีที่ ๖๕ ฉบับที่ ๒๒๔๘๐ หน้า ๑๐ คอลัมน์ < การเมืองท้องถิ่น> บทความพิเศษ : #จับกระแสการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวข้ามชาติ โดย 
สรณะ เทพเนาว์ 
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการปกครองท้องถิ่น 
เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ
หนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่อง ขอความร่วมมือในการสนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย จาก พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประชุมคณะกรรมการสหพันธ์องค์การข้าราชการ

ประชุมคณะกรรมการสหพันธ์องค์การข้าราชการและลูกจ้างท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ วันจันทร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๑ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายในอาคาร B ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ในความเป็นพี่เป็นน้องต้องขอบคุณปลัดพิพัฒน์ วรสิทธิดำรง เลขาธิการฯ และทุกท่านที่มอบแจกันดอกไม้แสดงความยินดีและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)



ประชุม คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ครั้งที่ ๙/๒๕๕๗

ประชุม คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ครั้งที่ ๙/๒๕๕๗ ในวันพุธที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๕๕๐๑ อาคาร ๕ ชั้น ๕ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น





สำหรับการสัมมนา สปช.ในวันนี้ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จะมีกิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อยตามกรรมาธิการจำนวน ๑๘

สำหรับการสัมมนา สปช.ในวันนี้ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จะมีกิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อยตามกรรมาธิการจำนวน ๑๘ คณะ เพื่อแสดงแนวคิดภายใต้หัวข้อ “เราจะนำผลจากภาพอนาคตที่ฝันไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร” เพื่อนำผลจากภาพอนาคตที่ฝันไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร และในเวลาประมาณ 15.30 น.ประธาน สปช.พร้อมด้วยสมาชิก สปช.จะร่วมกันแถลงข่าว...และเช้านี้แต่ละกลุ่มนำเสนอ#‪#‎ความฝันอนาคตประเทศไทย‬ ใน ๒๐ ปีข้างหน้าที่จะส่งมอบให้ลูกหลาน โดยมีโจทย์ ดังต่อไปนี้
๑. การลดความเหลื่อมล้ำ : ทางเศรษฐกิจ : ทางด้านการเข้าถึงการศึกษา : ทางด้านการเข้าถึงทรัพยากร
๒. สังคมแห่งพลังปัญญา การใช้ข้อมูลความรู้เพื่อแก้ปัญหา สร้างมูลค่าและคุณค่า เป็นสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๓. ชุมชนเข้มแข็ง ลดอำนาจรัฐส่วนบน ขยายอำนาจฐานการเมืองส่วนล่าง สร้างสมดุลระหว่างภาคการเมือง ราชการและปราชน
๔. ระบบทุนที่ดี (ทุนสัมมา) มีความเป็นธรรม ไม่ผูกขาด มีธรรมาภิบาล เป็นทุนที่รับใช้สังคม
๕. พลเมืองไทยมีคุณภาพ มีความรู้ มีคุณธรรม วินัย ภาคภูมิใจในความเป็นไทยรับผิดชอบ เห็นแก่ส่วนรวม สุขภาพดี
๖. ระบบกฎหมายเป็นธรรม มีการบังคับใช้เสมอภาค และมีประสิทธิภาพ
๗. สังคมพหุวัฒนธรรมคนอยู่ร่วมกันได้บนความหลากหลาย เกื้อกูลแบ่งปัน
๘. ระบบเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค
๙. การลดทุจริตคอรัปชั่น
๑๐. ระบบที่มีการคัดกรอง"คนดี" เข้าสู่การเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
๑๑. การกระจายอำนาจและกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจออกจากส่วนกลาง




สปช. สรุปออกเป็น ๑๑ ประเด็นสำคัญ ในการปฏิรูปประเทศ

แถลงข่าวหลังการเสร็จสิ้นสัมมนา...สรุปออกเป็น ๑๑ ประเด็นสำคัญ และแต่ละกลุ่มเห็นตรงกันในประเด็นลดความเหลื่อมล้ำในโอกาส ส่วนอีก ๑๐ประเด็นสำคัญที่แบ่งกลุ่มระดมความเห็นและนำเสนอประกอบด้วย ระบบทุนที่มีธรรมาภิบาล ระบบเศรษฐกิจที่แข่งขันได้เป็นผู้นำในภูมิภาค ระบบกฎหมายที่เป็นธรรม การลดทุจริตคอร์รัปชั่น การกระจายอำนาจและศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ พลเมืองมีคุณภาพคุณธรรม ชุมชนเข้มแข็งสมดุลอำนาจระหว่างส่วนบนอละส่วนล่าง สังคมพหุวัฒนธรรม สังคมแห่งพลังปัญญา ระบบคัดกรองคนดีเข้าสู่การเมืองทุกระดับ สำหรับประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำส่วนใหญ่เห็นตรงกันในการเริ่มปฏิรูปลดความเหลื่อมล้ำทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร และการศึกษา โดยให้มีการปฏิรูปการศึกษาให้มีมาตรฐานคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพิ่มสวัสดิการและค่าตอบแทนครู รวมถึงการเพิ่มคุณภาพ การใช้นโยบายคลัง- ภาษีอย่างเป็นธรรม การทำให้คนจนมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จ่ายและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น การใช้นโยบายทางการเงินอย่างเหมาะสม และการจัดสรรที่ดินทำกินอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ ในส่วนประเด็นการสร้างสังคมแห่งพลังปัญญาด้วยจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นระบบ เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอและเข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึงเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด ยกเลิกกฎหมาย อุปสรรค ที่เป็นปัญหาต่อการบริหารจัดการ ขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นและการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น... คาดว่าการจัดสรรกรรมาธิการทั้ง ๑๘ คณะ เรียบร้อยแล้ว โดยในวันพรุ่งนี้ ช่วงเช้า(๑๑ พ. ย.) จะนำรายชื่อของแต่ละคณะเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อรับรอง จากนั้นในช่วงบ่ายจะให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะได้ประชุมเพื่อเลือกประธานและรองประธาน ส่วนวิป จะมี ๒๕ คน ประกอบด้วยตัวแทนจากคณะกรรมาธิการวิสามัญแต่ละคณะ และส่วนหนึ่งมาจาก สมาชิก สปช. ที่สมัครเข้ามา ส่วนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ สปช. จะมองถึงโครงสร้างการปฏิรูป รวมถึงกฎหมายที่มีความเร่งด่วน ซึ่งจะมองถึงผลในระยะยาว ๒๐ ปี โดยจะมีการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นประชาชน และเวทีเฉพาะด้านที่มีนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาเสนอความเห็นและช่วยคัดกรองความเห็นที่ได้จากเวทีสาธารณะ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ....



วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข่าวเก่านำมาเล่าใหม่ แนวคิดการปฏิรูปท้องถิ่น ..แนวคิดนะครับ...



การปฏิรูปโครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มที่อาจจะยกเลิกองค์กรปกครองท้องถิ่นบางองค์กร โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประชุมหารือพร้อมเชิญตัวแทนกระทรวงมหาดไทย (มท.) เข้าร่วม เพื่อวางแนวทางการยุบโครงสร้างองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ อบจ. เพื่อปรับเป็นเทศบาลจังหวัด ส่วนตำแหน่ง นายก อบจ. เปลี่ยนเป็น นายกเทศมนตรีจังหวัด

สำหรับแนวทางในการปฏิรูปโครงสร้าง ให้ยุบเทศบาลเมืองของจังหวัดรวมกับ อบจ. เป็นเทศบาลจังหวัด ซึ่งต่อไปนี้จะมีเพียงเทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้ยกเลิกไป

อำนาจหน้าที่ นายกเทศมนตรีจังหวัด จะไม่ได้มามีส่วนเกี่ยวข้องในการแต่งตั้งโยกย้าย แต่จะเป็นหน้าที่ของปลัดสภาจังหวัด โดยสมาชิกจะมาจาก 2 ระบบ คือ มาจากการเลือกตั้ง 50% และแต่งตั้ง 50% ที่มาจาก เทศบาลอำเภอ ตำบล และข้าราชการประจำ

ส่วนข้อเสนอการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1.ปฏิรูปท้องถิ่น จากเดิม มี 4 รูปแบบคือ 1.อบต. 2.เทศบาล 3.อบจ. และ 4.รูปแบบพิเศษ กทม.-เมืองพัทยา ให้คงเหลือ 2 รูปแบบ คือ 1.เทศบาล กับ 2.รูปแบบพิเศษ

2.ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบท้องถิ่น อบต.ทั้งหมด เป็นเทศบาลตำบล มีที่ตั้ง 1 ตำบล 1 ท้องถิ่น อบต.ใดที่มีพื้นที่เป็นตำบลเดียวกัน แต่มี 2 อบต. หรือ ตำบลเดียวกัน มีทั้ง อบต.และเทศบาลอยู่ด้วยกัน หรือ ตำบลเดียวกัน มี 2 เทศบาลอยู่ในตำบลเดียวกัน ให้ยุบรวมเป็น 1 เทศบาล ต่อ 1 ตำบล

3.จัดให้เทศบาล มี 3 รูปแบบ คือ 1.เทศบาลตำบล มีที่ตั้ง อยู่ในเขตตำบล นั้น ๆ 2.เทศบาลอำเภอ มีที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลที่เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ นั้น ๆ 3.เทศบาลจังหวัด มีที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด หรือเขตเทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร เดิม

4.แบ่งระดับชั้น ขนาดของเทศบาลไว้ 3 ระดับ ดังนี้ 1.เทศบาลตำบล มี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก 2.เทศบาลอำเภอ มี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก และ 3.เทศบาลจังหวัด มี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก โดยแบ่งตาม จำนวนหมู่บ้าน พื้นที่ ประชากร พื้นที่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด

5. อบจ. หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้เปลี่ยนอำนาจหน้าที่ จากเดิมให้บริการสาธารณะเหมือนท้องถิ่นอื่น เปลี่ยนใหม่ให้เป็นฝ่ายอำนวยการ โดยให้เปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่ จัดตั้งเป็น สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด.............

มีหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับเทศบาล จัดตั้งแยกงบประมาณเป็นกองทุน จัดสวัสดิการ เงินเดือน ค่าตอบแทน ประโยชน์ตอบแทนอื่น การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กำกับดูแล ตรวจสอบ รับเรื่องร้องเรียน สอบสวนทางวินัย ฝึกอบรมให้ความรู้ ให้กับข้าราชการท้องถิ่น ในจังหวัดนั้น ๆ

รวมทั้งจัดสรรงบประมาณให้กับ เทศบาลตำบล เทศบาลอำเภอ และเทศบาลจังหวัด อย่างเป็นธรรมและเสมอภาค เป็นประจำทุกปี โดยจัดให้มี หัวหน้าสำนักงานมาจากข้าราชการประจำ (อาจมาจาก ปลัดเทศบาลที่มีคุณสมบัติผ่านการสอบคัดเลือกมาก็ได้) เรียกชื่อ ผู้อำนวยการท้องถิ่นจังหวัด.....ไม่มีฝ่ายการเมืองมาทำหน้าที่ ยกเลิกการเลือกตั้งในระดับนี้

6.จัดให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ทุกระดับโดยตรง ให้เทศบาลตำบล มี รอยนายกฯ ได้ 1 คน เลขานายกฯ 1 คน เทศบาลอำเภอ มีรองนายกฯ 2 คน เลขานายกฯ 1 คน เทศบาลเมือง มีรองนายกฯ 3 คน เลขานายกฯ 1 คน เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน

ให้นายกเทศมนตรี มีอัตราเงินเดือนอยู่ที่ขั้นสูงสุดของระดับซีหรือแท่งเงินเดือนของปลัดเทศบาลนั้น ๆ นายกเทศมนตรีอยู่ได้ ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน มีวาระละ 4 ปี

7.สภาเทศบาลตำบล และเทศบาลอำเภอ ให้มาจากจำนวนผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านในเขตตำบลนั้น ๆ เท่าที่มีอยู่เป็นสมาชิกสภาโดยตำแหน่ง สภาเทศบาลจังหวัด ให้ใช้หัวหน้าชุมชน เป็นสมาชิกสภาเทศบาล มีจำนวน ไม่เกิน 36 คน หากจำนวนชุมชนเกินกว่า 36 ชุมชน ให้เลือกกันเองให้เลือกไม่เกิน 36 คน ตามขนาดของเทศบาลจังหวัด

ให้สมาชิกสภาเทศบาล ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน แต่ไม่น้อยกว่าเงินเดือนขั้นต่ำระดับปริญญาตรี และมีเบี้ยประชุม เป็นรายครั้งที่มีการประชุม ตามระเบียบที่กำหนด

8.จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน 10 คน ขนาดกลาง ไม่เกิน 12 คน ขนาดใหญ่ ไม่เกิน 16 คน หากจำนวนหมู่บ้านมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี

9.จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลอำเภอ ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน 12 คน ขนาดกลาง ไม่เกิน 16 คน ขนาดใหญ่ ไม่เกิน 18 คน หากจำนวนหมู่บ้านมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี

10.จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลจังหวัด ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน 18 คน ขนาดกลาง ไม่เกิน 24 คน ขนาดใหญ่ ไม่เกิน 36 คน หากจำนวนชุมชนมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี

11.อำนาจการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ให้อยู่ในรูปคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ 1.ผู้แทนส่วนราชการอื่นจำนวน 6 คน ผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 6 คน ผู้แทนข้าราชการประจำ 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี โดยให้คณะกรรมการคัดเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ขึ้นเป็นประธาน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ให้มีการคัดเลือกใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นประธาน เกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้

12.ไม่เห็นด้วยที่จะไปเปลี่ยนให้ตำบล มี ผอ.เขต ให้บริหารงานเหมือนกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพราะบริบท พื้นที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน พื้นที่ในเมืองหลวงมีความแตกต่างกับพื้นที่ชนบท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 85 และ 86/2557 ให้งดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมถึงงดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และ สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) เป็นการชั่วคราว และให้ใช้การสรรหาแทน

กำหนดจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล มีสมาชิกสภาจำนวน 10 คน เทศบาลทุกประเภท มีสมาชิกสภาจำนวน 12 คน และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้มีสมาชิกสภาจังหวัดกึ่งหนึ่ง ของจำนวนปัจจุบัน

ให้งดจัดการเลือกตั้ง ส.ก.และ ส.ข. แล้วให้ใช้วิธีการคัดเลือกบุคคลจำนวน 30 คนทำหน้าที่ ส.ก.โดยอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวน ส.ก. ต้องเคยเป็นข้าราชการ หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่า

ระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-31 ธ.ค.2557 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครบวาระทั้งหมด 255 แห่ง โดยแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 2 แห่ง เทศบาลเมือง 8 แห่ง เทศบาลตำบลจำนวน 157 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 86 แห่ง และกรุงเทพมหานครอีก 1 แห่ง

ทันทีที่มีประกาศดังกล่าวออกมา ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาทั้งจากสมาชิกองค์บริหารส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการ จนเป็นประเด็นหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคสช. ต้องหยิบยกขึ้นมาอธิบายถึงเหตุผลที่ คสช.ต้องออกประกาศ "งดการเลือกตั้งท้องถิ่น" และกำหนดให้มีการสรรหาทดแทนในตำแหน่งที่ว่างลง

จากประกาศคสช.ดังกล่าว มีการคาดการณ์กันว่าจะไม่มีการเลือกท้องถิ่นไปจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นอกจากนี้ ระหว่างที่คณะทำงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช.ที่มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ.เป็นหัวหน้าคณะ ในขณะนั้น ได้เชิญเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และเจ้าหน้าที่ด้านการเลือกตั้ง เข้าไปหารือเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น ทางคณะทำงานของ คสช. มีความเห็นว่า น่าจะชะลอการเลือกตั้งท้องถิ่นไปก่อน เพราะหากเลือกตั้งก็จะได้ผู้บริหารที่เป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองระดับชาติอีก

รวมถึงหากมีรัฐธรรมนูญและมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งฉบับใหม่ ซึ่งอาจจะกำหนดที่มาของสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่นใหม่ ก็ต้องดำเนินการเพื่อให้ได้สมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่นชุดใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด จึงอาจจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

พิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้เป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็น ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ อาศัยความตามมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 



ณ ห้องประชุมรัฐสภา อาคารรัฐสภา ๑

วันจันทร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมรัฐสภา อาคารรัฐสภา ๑ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๗ ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ....พิจารณาเสร็จแล้ว โดย พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้นำเสนอร่างข้อบังคับการประชุมฯ ซึ่งมีจำนวน ๑๔๓ มาตรา ต่อที่ประชุม
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ แสดงความยินดี นายสุธี มากบุญ ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น"รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย" ม.ท.๒ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่น (ก.จ. ก.ท. และก.อบต.) พร้อมฝากประเด็นปัญหาการปฏิรูปท้องถิ่นในอนาคต โดยมี นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ สปช. ด้านการปกครองท้องถิ่น และ นายประวิทย์ เปรื่องการ ผู้อำนาวยการส่วนมาตรฐานวินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ สถ.

หารือแนวทางการเบิกจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗



ads.txt

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0