สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผวจ.ร้อยเอ็ด ส่งเรื่อง สถ. ขอความเห็นชอบ สั่งนายกเทศมนตรีตำบลชุมพรพ้นจากตำแหน่ง กรณีผู้รับเหมาสร้างถนนผิดสเปกยังเซ็นจ่ายงบ


ก่อนอื่นขอนำข้อมูลจากข่าวเก่า โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2556
มาลงเล่าถึงเรื่องเดิม ... ดังนี้

ชาวบ้านในร้อยเอ็ดร้องเอาผิด ทต.ชุมพร ฮั้วผู้รับเหมาสร้างถนนผิดสเปกยังเซ็นจ่ายงบ
ร้อยเอ็ด - ชาวบ้านรวมตัวแสดงสิทธิชุมชนขอตรวจสอบการใช้งบสร้างถนน และร้องเอาผิด ทต.ชุมพร เชื่อทุจริตสร้างถนนผิดแบบ มีการเบิกเงินทั้งที่ไม่ผ่านการตรวจรับงานจากกรรมการ ด้านนายกฯ โต้ โครงการถูกสเปก มีหลักฐานการเซ็นรับมอบงานถูกต้องก่อนเบิกเงิน แต่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ อ้างยังหาไม่พบ
     
       เมื่อวันที่21 มิ.ย. 56 ตัวแทนชาวบ้านในตำบลชุมพร อ.เมยวดี จ.ร้อยเอ็ด กว่า 30 คน นำโดย นายพีระประพล พลเยี่ยม อยูาบ้านเลขที่ 87 หมู่ 14 ต.ชุมพร อ.เมยวดี ร่วมกันเดินทางไปที่เทศบาลตำบลชุมพร โดยอ้างฐานะเป็นประชาชนมีหน้าที่พิทักษ์ประโยชน์ และเงินงบประมาณก่อสร้างถนนคอนกรีตของท้องถิ่น และขอตรวจสอบการทุจริตของนายกเทศมนตรีตำบลชุมพร
     
       นายพีระประพลกล่าวหาว่า นายกเทศมนตรีตำบลชุมพรได้สมคบกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ตามโครงการงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 จำนวน 2 โครงการ คือสัญญาจ้างเลขที่ 30/2556 และสัญญาจ้างเลขที่ 29/2556 คือ โครงการก่อสร้างถนน ค.ส.ล. หมู่ 3 ตามแบบของเทศบาลฯ ความยาว 43 เมตร กว้าง 4 เมตร หนา 15 ซม. งบประมาณ 194,000 บาท
     
       จากการติดตามตรวจสอบการก่อสร้าง พบว่าผู้รับเหมาได้เทคอนกรีตถนนมีความหนาไม่ได้มาตรฐานตามแบบแปลน วัดความหนาโดยเฉลี่ยเพียง 0.07-0.08 ซม. ในขณะที่สเปกกำหนดให้มีความหนา 15 ซม.
     
       ผลของการก่อสร้างผิดแบบทำให้กรรมการตรวจรับงานไม่ยอมลงชื่อตรวจรับมอบงาน แต่ทราบว่านายกฯ กลับอนุมัติให้มีการเบิกจ่ายเงินแก่ผู้จ้างเหมาไปแล้ว จึงเดินทางมาเพื่อส่งหนังสือยื่นขอตรวจสอบข้อเท็จจริง
     
       นายพีระประพลระบุว่า พวกตนมีหลักฐานชัดเจนว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้น พวกตนกับชาวบ้านได้เคยทำหนังสือแจ้งไปยังเทศบาลฯ และผู้รับเหมาให้ดำเนินการแก้ไข หรือรื้อทิ้งเพื่อสร้างใหม่ให้ถูกตามแบบ และแม้แต่ทางปลัดเทศบาลก็รับทราบและยอมรับว่าไม่ถูกต้อง และปลัดเองได้ทำหนังสือแย้งถึงนายประมวล หารพละ นายกเทศมนตรีตำบลชุมพร ว่าการก่อสร้างผิดแบบแปลนของเทศบาลฯ ให้ผู้รับจ้างทำการแก้ไข และไม่สามารถเบิกจ่ายเงินแก่ผู้รับเหมาได้
     
       ขณะที่ นายประมวล นายกเทศมนตรีกลับเพิกเฉย และมีการแอบอนุมัติเบิกจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่ผู้รับเหมาไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2556 ทั้งๆ ที่ไม่มีการเซ็นรับจากกรรมการตรวจรับทั้ง 3 คน ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างชัดเจน จึงรวมตัวมาเพื่อตรวจสอบเอกสารให้เกิดความชัดเจน และหากทำด้วยความถูกต้องขอให้นำเอกสารมาแสดง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำส่อการทุจริตต่อหน้าที่อย่างชัดเจน
     
       พร้อมกันนี้จะได้นำหลักฐานเข้าแจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.เมยวดี และส่งเรื่องร้องเรียนถึงจังหวัด สำนักงาน สตง. และ ป.ป.ช.จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อให้ทำการสอบสวนเอาผิดด้วย
     
       ด้านนายประมวล หารพละ นายกเทศมนตรีตำบลชุมพร กล่าวยืนยันว่า เรื่องที่มีการยื่นร้องเรียนการก่อสร้างถนนผิดแบบแล้วตนเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาทั้งที่กรรมการไม่ตรวจรับงานนั้นน่าจะเป็นการเข้าใจผิดและพยายามกลั่นแกล้งกันทางการเมือง ตนทำทุกอย่างถูกต้องตามระเบียบ โครงการดังกล่าวมีวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองร้อยเอ็ดเป็นวิศวกรตรวจสอบ มีช่างควบคุมงาน กรรมการตรวจสอบการจ้างตามระเบียบทุกอย่าง
     
       โดยก่อนที่ตนจะอนุมัติการจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาก็ผ่านการเซ็นตรวจรับงานของกรรมการโดยถูกต้อง แต่ไม่สามารถนำมาให้ดูได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่อยู่ และหาเอกสารไม่เจอ
     
       ขณะที่นายพิทักษ์เกียรติ ศิลาวรรณ ปลัดอาวุโส อ.เมยวดี เปิดเผยว่า ตนในฐานะผู้รับหนังสือร้องเรียนก็จะทำเรื่องเสนอต่อนายอำเภอผ่านไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบและพิจารณาว่าเรื่องที่เกิดขึ้นสมควรตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงหรือไม่อย่างไรต่อไป

...

จากนั้น ... กระบวนการ ขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงก็เกิดขึ้น

การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...........สนง.ก.ถ. คาดว่าเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558 โครงสร้างระบบชั้นงานแท่ง (ฺBroadband) 4 แท่งตามประเภทงาน

การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...........สนง.ก.ถ. คาดว่าเริ่มใช้ 1 มกราคม 2558
โครงสร้างระบบชั้นงานแท่ง (ฺBroadband) 4 แท่งตามประเภทงาน





ประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล

สืบเนื่องจาก ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล โดย นายชาญชนะ เอี่ยมแสง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานแทน อธิบดีกรม สถ. ที่ประชุมมีมติอนุมัติเงินสงเคราะห์กรณีสมาชิกประสบอุบัติเหตุ จำนวน ๑ ราย เป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๐๐ บาท และการจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีสมาชิกถึงแก่กรรม จำนวน ๑๒ ราย เป็นเงินทั้งสิ้น ๗๖๐,๐๐๐ บาท ให้ทายาท/ผู้รับโอนประโยชน์ ติดต่อประสานสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล จำกัด ในวัน เวลาราชการ ได้ครับ



วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

"ทิศทางและแนวโน้มของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. บรรยาย "ทิศทางและแนวโน้มของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมกับ นางสาวรสนา โตสิตระกุล (สปช.) รศ.ยุทธพร อิสรชัย ประธานสาขาวิชารัฐศาสตร์ มสธ.


วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความทางวิชาการของ นายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมฯ

ข่าวหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๗ <หน้า ๑๐ คอลัมภ์ การเมืองท้องถิ่น> บทความทางวิชาการของ นายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมฯ ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กพร. เรื่อง แนวทางการกำหนดภารกิจภาครัฐ และ การจัดความสัมพันธ์ ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น


ประชุมคณะอนุกรรมการสหกรณ์ฯ


๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ประชุมคณะอนุกรรมการสหกรณ์ฯ และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล จำกัด ชุดที่ ๔๒ ครั้งที่ ๙ ณ ห้องประชุม ๕๕๐๑ อาคาร ๕ ชั้น ๕
 — ที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น


นำคณะสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ สปช.

ขออนุญาตลงภาพอีกครั้ง เนื่องจากติดขัดทางเทคนิคครับ...นำคณะสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ สปช. ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. ในวันอังคารที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ พร้อมร่วมถ่ายภาพกับว่าที่รองประธาน สปช. คนที่ ๒ นางสาวทัศนา บุญทอง ภายหลังการลงคะแนน^ลับ^ ก็ได้รองประธาน สปช. คนที่ ๒ คือ นางสาวทัศนา บุญทอง


แสดงความยินดีกับ นายดำรงค์ พิเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ


แสดงความยินดีกับ นายดำรงค์ พิเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ วานนี้ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
 

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความพิเศษ ทิศทางและแนวโน้มของการปฏิรูปท้องถิ่นตามกระแสโลก

ข่าวหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ และ
ข่าวหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ปีที่ ๖๕ ฉบับที่ ๒๒๔๕๒ หน้า ๑๐ คอลัมน์ <การเมืองท้องถิ่น> : บทความพิเศษ ทิศทางและแนวโน้มของการปฏิรูปท้องถิ่นตามกระแสโลก โดย สรณะ เทพเนาว์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย

บทความพิเศษ : การปกครองท้องถิ่นไทย รูปแบบเทศบาลอันเป็นสากล

ข่าวหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ปีที่ ๖๕ ฉบับที่ ๒๒๔๔๕ หน้า ๑๐ คอลัมน์ < การเมืองท้องถิ่น> บทความพิเศษ : การปกครองท้องถิ่นไทย รูปแบบเทศบาลอันเป็นสากล

ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ ในวันอังคารที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ตึกรัฐสภา

ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ ในวันอังคารที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ตึกรัฐสภา ครับ...












วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นายสรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย รายงานตัวในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๓๐ น. กระผมมารายงานตัวในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กระผมรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณด้วยการโปรดเกล้าฯรับไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมเพื่อจักได้ประพฤติตนตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้น ครอบคลุมทุกเรื่องของชีวิต ตั้งแต่ความประพฤติส่วนตัว การรู้จักควบคุมจิตใจและความมีสติ การพยายามเอาชนะอุปสรรค การรับสิ่งที่ดีของผู้อื่นมาพัฒนาตนเอง การพัฒนาความคิดให้ก้าวหน้าทันสมัย การรู้จักสำรวมกายใจ การประหยัด ไปจนถึงการทำงานเพื่อสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเข้าใจธรรมชาติของคนในสังคม การรักษาดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ การน้อมนำพระบรมราโชวาทไปประพฤติปฏิบัติตามจะทำให้ชาติไทยของเราเจริญมั่นคงก้าวหน้า...ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่รัฐสภาที่ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการมารายงานตัวในครั้งนี้ และสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือกำลังใจจากเพื่อนๆและครอบครัวที่อยู่เคียงข้างกระผม คอยให้กำลังใจเสมอมา




บันทึกเทปรายการซูมอิน ในประเด็น"ปฏิรูปท้องถิ่น

๑๕.๔๕ น. ภารกิจต่อมาได้เป็นแขกรับเชิญ สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา เพื่อบันทึกเทปรายการซูมอิน ในประเด็น"ปฏิรูปท้องถิ่น



"ทิศทางและแนวโน้มของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

ได้รับเชิญจาก รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย ประธานกรรมการประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นวิทยากร ในหัวข้อเรื่อง "ทิศทางและแนวโน้มของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันศุกร์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗

บทความพิเศษ ทิศทางและแนวโน้มของการปฏิรูปท้องถิ่นตามกระแสโลก

ข่าวหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ และ
ข่าวหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ปีที่ ๖๕ ฉบับที่ ๒๒๔๕๒ หน้า ๑๐ คอลัมน์ <การเมืองท้องถิ่น> : บทความพิเศษ ทิศทางและแนวโน้มของการปฏิรูปท้องถิ่นตามกระแสโลก โดย สรณะ เทพเนาว์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
 — กับ Phachern Tham และ อบรมเว็บไซส์ ด้วยตัวคุณเอง
ทิศทางและแนวโน้มของการปฏิรูปท้องถิ่นตามกระแสโลก
สรณะ เทพเนาว์ , ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
นายกสมาคมพนักงานแห่งประเทศไทย
ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง
ต้องยอมรับว่าในท่ามกลาง “กระแสโลกาภิวัตน์” (Globalization) ปัจจุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “การจัดระเบียบโลกใหม่” (New World Orders) ได้เข้ามามีบทบาทครอบงำต่อประชาคมโลกโดยทั่วไป เริ่มจากปี 1990 (พ.ศ. ๒๕๓๓) โดยประธานาธิบดีบุชผู้พ่อผู้นำเสนอ ถึงปัจจุบันจับกระแสดังกล่าวในเรื่องสำคัญ คือ ๑. ประชาธิปไตย (Democracy) ๒. สิ่งแวดล้อม (Environment) ๓. สิทธิมนุษยชน (Human Rights) รวมถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) และ ๔. การค้าเสรี (Free Trade) ที่มีขอบข่ายกว้างขวางรวมถึงเรื่องต่าง ๆ มากมาย อาทิเรื่อง ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร (Copyright) ระบบเครือข่ายสารสนเทศ (Network Information & Technology) ฯลฯ เป็นต้น
ประเทศต่าง ๆ มีการรวมกลุ่มกันเป็นเขตเศรษฐกิจเสรี มีการพึ่งพากันและกันทางเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยตั้งแต่ปี 2015 หรือปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ก็จะเกิด “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN) ในทางเศรษฐกิจจะมีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ มีการเคลื่อนไหวทางการค้า การลงทุน แรงงาน ฯลฯ อย่างเสรี เหมือนดังเช่นสหภาพยุโรป (European Union : EU) ที่เกิดมานานแล้วก่อนปี 1993 ในรูปแบบชื่อ "ประชาคมยุโรป" (European Community : EC) จนกระทั่งในปี 2002 (พ.ศ. ๒๕๔๕) ได้พัฒนามาสู่รูปแบบชื่อ "สหภาพยุโรป" ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์มีการใช้นโยบายการเงินการคลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในกระแสโลกดังกล่าวจึงไม่อาจหยุดยั้งการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ มีแต่จะขยายขอบข่ายกว้างขวางจนกระทั่งครอบคลุมโลกไว้ทั้งหมด โดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านการสื่อสารแบบถึงตัวทั่วถึงในรูปแบบของสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ (social online) ในมุมมองด้านเศรษฐกิจโลกในการ “ปฏิรูปประเทศไทย” หรือ “การออกแบบประเทศไทย” จึงจำเป็นต้องนำปัจจัยภายนอกดังกล่าวมาพิจารณาประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาประเทศสอดคล้องกับบริบทของสังคมโลก (social context) ในอนาคตดังกล่าว
จากการศึกษาวิจัยของ ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์กับพวก (๒๕๕๑) เห็นว่า จุดแข็งที่สำคัญในการแข่งขันระดับชาติของประเทศไทย อาทิ การมีโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่อยู่ในระดับค่อนข้างดี จุดอ่อนที่สำคัญ อาทิ การมีสถาบันที่อ่อนแอ (weakness in institutions) และความพร้อมในการรับเทคโนโลยี (technological readiness) จากต่างประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาทางนวัตกรรม (innovation development) ที่จะเป็นความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต นอกจากนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส (๒๕๕๗) เสนอให้มีการตรา “พระราชบัญญัติปฏิรูปสังคม” ไว้เป็นกฎหมาย เพื่อทำให้สังคมเข้มแข็ง เพราะภาคสังคมไม่มีเครื่องมือเชิงสถาบันเลย
ฉะนั้น ในบริบทของการปฏิรูปประเทศไทยที่สอดคล้องกับสังคมโลก ที่ต้องสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติให้สูงขึ้นในระยะยาว จึงควรพิจารณาถึงแนวทางในการปฏิรูปด้านการปกครองท้องถิ่น ดังนี้
(๑) รูปแบบโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องมีลักษณะที่สังคมโลกยอมรับและยึดถือกันเป็น “สากล” แล้ว โดยเฉพาะในเรื่องประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ ฯลฯ
(๒) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่เขตเมือง เขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท หรือเขตชนบท ย่อมมีแนวทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน ได้แก่ การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบ “เทศบาล” หรือในรูปแบบ “เศรษฐกิจพิเศษ” หรือในรูปแบบเงื่อนไขพิเศษอื่นใด เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA)
(๓) มีระบบการควบคุมตรวจสอบ อปท. ที่เป็นสากล รวมทั้งการควบคุมภายนอก และการควบคุมภายใน ควรมีประสิทธิภาพและโปร่งใส สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการบริการสาธารณะแก่ประชาชนเจ้าของพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น การกำกับดูแลควรมีพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในรูปแบบของ “สภาพลเมือง” (assembly) หรือ “สมัชชา” (forum) หรือ “คณะกรรมการ” (commission) ในระดับชั้นต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ จนถึงคณะกรรมการท้องถิ่นแห่งชาติ เป็นต้น มิใช่การควบคุมกำกับดูแลในรูปของบุคคล นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังเช่นปัจจุบัน โดยมีการผสานความร่วมมือกันทั้งในเชิงประเด็น (issue based) และพื้นที่ (area based) เข้าด้วยกัน การแก้ไขจุดนี้ได้ก็จะเป็นการแก้ไขเรื่อง การมีสถาบันที่อ่อนแอลงได้
(๔) การเสริมสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human resource development) โดยเฉพาะการพัฒนาการด้านการศึกษาในทุกระดับ รวมทั้งในระดับพลเมือง “ประชาสังคม” เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้มีจิตสำนึก ความรับผิดชอบ และทัศนคติที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตระยะยาว ควรมีการแบ่งมอบภารกิจการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้เหมาะสมแก่ท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นคือจุดเริ่มต้นของการพัฒนา (grass root)
(๕) สร้างกติกาวางกรอบลดเงื่อนไขการทุจริตคอร์รัปชั่น (corruption) ในทุกรูปแบบ ครอบคลุมในทุกขั้นตอนของการบริการจัดการ รวมถึงครอบคลุมถึงการใช้วิถีชีวิตประจำวันของประชาชนในท้องถิ่นโดยทั่วไปด้วย เพื่อการแข่งขันและการยอมรับ รวมถึงความเชื่อถือจากสังคมโลก
(๖) เพิ่มสถานะการคลังท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการจัดเก็บและเสียภาษีท้องถิ่นให้กว้างขวาง เพื่อสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และหวงแหนท้องถิ่นของตนให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีการค้า ภาษีค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่ต้องควบคุมฯ เป็นต้น
(๗) การสร้างงานสร้างอาชีพในระดับชุมชนท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง โดยเฉพาะในรูปของสินค้า ของที่ระลึก ที่มีเอกลักษณ์ย่านชุมชน งานฝีมือ ทักษะเฉพาะถิ่น รวมถึงการท่องเที่ยวด้วย จนถึงระดับก้าวหน้าไปสู่ตลาดโลกได้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตของประชาชนชุมชนคนท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ต้องมีการนำเสนอ ถกพูดคุยกันในเวทีสภาปฏิรูปแห่งชาติ และนำไปพิจารณาตราเป็นกฎหมายให้ครอบคลุมในทุกประเด็น ในทุกมิติ ให้สอดคล้องกับกระแสสังคมโลก ฉะนั้น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติก็คือ ความหวังในการกอบกู้วิกฤตสังคม และต้องมีหน้าที่ออกแบบประเทศไทยให้ดีที่สุด เนื่องจากมีสังคมและประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าที่เฝ้ามองจับตาเปี่ยมด้วยความหวัง
===========================
Phachern Tham ข้อ (๖) แก้ไขเป็น "สถานะการตลัง"...https://www.gotoknow.org/posts/578886

ads.txt

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0