สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โผ ครม.เฉพาะกาล คสช.คุมกระทรวงเกรดเอ




เมื่อเข้าสู่โรดแมพของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขั้นที่ 2 ทุกความเคลื่อนไหวของสมาชิก คสช. และบรรดาที่ปรึกษา คสช. ย่อมได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีการเลือกนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ

เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่จะเกษียนอายุราชการในเดือนกันยายนนี้ และนายทหารใน "5 เสือ ทบ." หลายคนจะพาเหรดเป็นเสนาบดีคุมงานฝ่ายต่างๆ สานต่อโครงสร้าง
คสช.ขั้นที่ 1

สำหรับรายชื่อแคนดิเดต ครม.เฉพาะกาล มีดังนี้

พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด อาจเป็นรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ อาจจะเป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ อาจจะเป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและยุติธรรม อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

สำหรับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานที่ปรึกษา คสช. และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รองประธานที่ปรึกษาคสช. จะไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อภาพลักษณ์ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกมองในแง่ลบ
พล.อ.ประวิตร อาจรับเพียงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ส่วน พล.อ.อนุพงษ์ จะเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยทั้งคู่จะจำกัดบทบาทตัวเองโดยช่วยงานอยู่เบื้องหลังเพียงเท่านั้น






แนะนำกลุ่ม "ปฏิรูปท้องถิ่น:เดินหน้าประเทศไทย"

แนะนำกลุ่ม "ปฏิรูปท้องถิ่น:เดินหน้าประเทศไทย"
-เชิญคนท้องถิ่น ร่วมคิด ร่วมเสนอแนะ และติดตามแนวทางการปฏิรูปท้องถิ่น ผ่านกลุ่ม "ปฏิรูปท้องถิ่น:เดินหน้าประเทศไทย" ใด้อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อตามติดการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุค คสช. เข้าร่วมกลุ่มได้ที่ลิงค์นี้https://www.facebook.com/groups/782939765082035/


เรียนท่านสมาชิกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ที่รักทุกท่านข่าวประชาสัมพันธ์ ความเคลื่อนไหวต่างๆ
สมาคมฯใคร่ขอให้ท่านได้โปรดเข้ามากรอกข้อมูลที่เป็นชื่อ จริง นามสกุลจริง รายละเอียดอื่นๆของท่าน เนื่องจาก สมาคมฯจะจัดทำบัตรสมาชิกใหม่ให้กับทุกท่านโดยเป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีแถบแม่เหล็ก และจะใช้เป็นบัตร สะสมแต้มในการเข้าร่วมรายการต่างๆ กับบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯทั้งเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยถูกต้องและสามารถติดต่อข้อมูลข่าวกับสมาชิกได้สะดวกรวดเร็ว ช่วงนี้สมาคมฯเปิดรับสม้ครสมาชิกใหม่ฟรีในระบบออนไลน์ ขอให้ท่านได้เข้าไปกรอกข้อมูลที่ คลิกเข้าไปกรอกข้อมูลที่นี่

3 สมาคมข้าราชการ อปท.ค้านยุบ อบจ.


คสช.รื้อใหญ่"ระบบราชการ" วิษณุเผยปรับโครงสร้าง-กฎระเบียบใหม่ คมนาคมชงตั้งกรมขนส่งทางราง


คสช.รื้อใหญ่"ระบบราชการ" วิษณุเผยปรับโครงสร้าง-กฎระเบียบใหม่ คมนาคมชงตั้งกรมขนส่งทางราง


แย้มตั้งกระทรวงน้ำ-กรมขนส่งทางราง จ่อยุบดีเอสไอ-แยกกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา ด้านคมนาคมเตรียมส่งแผนตั้งกรม พร้อมปฏิรูปการรถไฟ ขณะที่ ทีดีอาร์แนะต้องเร่งดันกฎหมายบริการประชาชน
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) เตรียมปรับโครงสร้างราชการครั้งใหญ่ พร้อมการปฏิรูปการเมือง โดยจะมีการตั้งหน่วยงานใหม่ อย่างเช่นกระทรวงน้ำ และกรมขนส่งทางราง เพื่อยุบรวมหน่วยงานที่ทับซ้อนกับเข้าอยู่ในหน่วยงานเดียว อีกทั้งจะมีการปรับปรุงการบริการประชาชนและการตรวจสอบการทำงานของหน่วยราชการ
การปฏิรูประบบราชการ เป็นเรื่องสำคัญในทุกรัฐบาล และมักจะถูกบรรจุเป็นนโยบายรัฐบาล แต่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจัง ซึ่งหากคสช.มีนโยบายจะเร่งปฏิรูป ก็มีความเป็นไปได้จะสำเร็จมากกว่าก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีอำนาจเบ็ดเสร็จ
นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในฐานะที่เป็นประธานคณะทำงานปรับบทบาท ภารกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของส่วนราชการด้านสังคม กล่าวในรายการ "อาทิตย์สโมสรกับวิษณุ" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง TNN24 ตอน"สภาปฏิรูปจะปฏิรูปอะไรบ้าง" ว่า ช่วงนี้มีการพูดถึงการปฏิรูปด้านประเทศมากพอสมควร แต่ผู้เสนอแนวทางในการปฏิรูปคือสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เป็นแกนหลัก โดยไม่ได้ตัดสิทธิของประชาชนในการออกความคิดความเห็นที่สามารถส่งไปตามช่องทางต่างๆ
"แต่คำถามคือจะปฏิรูปอะไรกัน เพราะเวลาพูดถึงความไม่พออกพอใจความเดือดร้อนจากกิจการของรัฐด้านต่างนั้นมีมากมายจนไม่รู้จะปฏิรูปเรื่องใดก่อน ในรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 กำหนดให้มีการปฏิรูป11ด้านเป็นอย่างน้อย ซึ่งสามารถเสนอแนวทางปฏิรูปเรื่องอื่นด้านที่12 13 14 ก็สามารถทำได้ แต่ด้านที่จะมีการปฏิรูปการเมือง ที่จะรวมถึงเรื่องกฎเกณฑ์ กติกา มารยาททางการเมือง และการปฏิรูประบบราชการน่าจะเป็นเรื่องใหญ่ที่จะถูกพูดถึงมากที่สุดนับจากนี้ไป"
นายวิษณุ กล่าวว่า การปฏิรูประบบราชการหมายถึงการปฏิรูปตำรวจ ฝ่ายปกครอง ศาล อัยการ หรือแม้แต่กิจการราชทัณฑ์ ทนายความและงานที่เกี่ยวกับการให้บริการภาครัฐ
"จากนี้ไปเราจะได้ยินเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างของระบบราชการ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ วิธีทำงานของข้าราชการ ว่าทำอย่างไรให้คนที่ทำงานราชการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและบริการประชาชนอย่างอุทิศกายและใจ ทำราชการด้วยความรวดเร็วว่องไวให้ความสะดวกไว้เนื้อเชื่อใจแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ รวมทั้งต้องพูดถึงเรื่องอัตรากำลังที่ไม่ให้ระบบราชการใหญ่โตเทอะทะ เต็มไปด้วยผู้คนมากมายหรือว่าทำงานทั้งวันได้พันห้าเดินไปเดินมาได้ห้าพันอย่างที่เพลงร้องประชดกัน ทำอย่างไรให้ข้าราชการมีค่าตอบแทนที่เพียงพอ " นายวิษณุ กล่าว
นายวิษณุ กล่าวว่ามีการพูดถึงเรื่องว่าน่าจะตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ำ เอาหน่วยงานที่เกี่ยวกับน้ำทั้งหมดมาไว้ด้วยกัน เพราะบทเรียนมหาอุทกภัยที่ผ่านมาหน่วยงานน้ำยังกระจัดกระจายกันอยู่ หากนำมารวมกันแล้วบริหารจัดการให้ดีก็น่าจะได้ประโยชน์ มีการพูดกันว่าอาจจะมีการตั้งกรมขึ้นมาสักกรมหนึ่ง เช่น กรมขนส่งทางราง กิจการที่ไม่ได้ขนส่งทางบกแต่เป็นการขนส่งทางราง หมายถึงรถไฟรางเดี่ยว รางคู่ แม้กระทั่งรถไฟความเร็วสูง หรือรถราง รถไฟฟ้า รถลอยฟ้า รถใต้ดิน น่าจะมารวมกันที่กรมขนส่งทางราง โดยรัฐดูแลออกแบบวางมาตรฐาน ก่อสร้างดูเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการเดินรถก็ให้เอกชนรับช่วงต่อ
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เจตนารมณ์ของการตั้งขึ้นไม่ได้คิดเลยว่าจะให้เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติแห่งที่2 ไม่เช่นนั้นก็จะซ้ำซ้อนกันหรือแย่งกันทำงาน แต่เขาออกแบบให้ทำ "คดีพิเศษ" ที่ตำรวจปกติจะรับมือได้ยาก ไม่ใช่คดีอาชญากรรมธรรมดาหรืออาชญากรรมตามท้องถนน(Street crime) เช่นอาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมที่มีความสลับซับซ้อนมาก แต่เมื่ออยู่ไปหรืออยู่มากรมนี้มักจะเหมาเอาหลายคดีเข้ามาเป็นคดีพิเศษ จนกระทั่งไปถึงคดีที่ดูแสนจะธรรมดาก็ระดับเป็นคดีพิเศษเพื่อจะเอามาทำ
" คงต้องคิดกันเสียใหม่แล้วครับว่าตกลงกรมสอบสวนคดีพิเศษตั้งขึ้นมาเพื่อจะทำอะไรแน่ " นายวิษณุ กล่าว
ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวิษณุ กล่าวว่า ย้อนไป10 ปีที่ผ่านมาอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องนำมาไว้ในกระทรวงเดียวกัน แต่ตอนนี้คงต้องทบทวนแล้วว่าท่องเที่ยว และ กีฬา อยู่ในกระทรวงเดียวกันได้หรือไม่ เพราะในที่สุดข้าราชการในกระทรวงนี้ต้องแบ่งภาคความชำนาญยากมาก เพราะจะไปด้านการท่องเที่ยวหรือด้านกีฬากันแน่ เพราะด้านหนึ่งคือด้านของเศรษฐกิจอีกด้านเป็นเรื่องของนันทนาการ สุขภาพและอนามัย และความเข้มแข็งของคนในชาติ นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องทบทวนกัน (อ่านรายละเอียดหน้า2)
คมนาคมส่งแผนพร้อมฟื้นฟูการรถไฟ
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าก.พ.ร.ได้เข้ามาหารือถึงการก่อตั้งกรมการขนส่งทางราง โดยก.พ.ร. เสนอข้อมูล เบื้องต้นว่ากระทรวงคมนาคมต้องมีความพร้อมด้านใดบ้างถึงจะ ก่อตั้งกรมขนส่งทางรางได้
ทั้งนี้การตั้งกรมการขนส่งทางรางจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ซึ่งกระทรวงคมนาคมกำลังพิจารณาและจะส่งให้สำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาร่วมกัน โดยจะเสนอให้แยกรฟท.เป็นผู้เดินรถ (Operator) ส่วนกรมฯเป็นผู้ดูแลกฎระเบียบ (Regulator) เพื่อดูแลมาตรฐานในทุกด้าน จากปัจจุบันที่รฟท. เป็นทั้งผู้เดินรถและผู้ดูแลกฎระเบียบ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องที่กระทรวงคมนาคม และ รฟท. ต้องมีความเห็นไปในทางเดียวกัน
"ยังไม่ได้พูดคุยกับรฟท. คงต้องนัดหารือกันต่อไป จะผลักดันเรื่องนี้ให้เสร็จภายใน 1 ปี ที่อยู่ในตำแหน่ง"
เผย'วิษณุ'สั่งก.พ.ร.ส่งแผน
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่าได้ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการปรับบทบาทหน้าที่ ภารกิจ โครงสร้าง เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการของส่วนราชการ โดยสั่งก.พ.ร.นำผลการศึกษาการปรับปรุงบทบาทหน้าที่ รวมทั้งการตั้งหรือยุบหน่วยงานราชการใหม่ที่ได้มีการศึกษาความเหมาะสม ก่อนจะเสนอให้กับหัวหน้าคสช.พิจารณา
"ขณะนี้ก็ต้องขึ้นกับการตัดสินใจของ คสช.ว่าจะดำเนินการปรับเปลี่ยนอย่างไร"
หากจะมีการตั้งกระทรวงหรือหน่วยงานใหม่ ก็จะต้องมีการออกเป็นกฎหมายคือเป็น พ.ร.บ.โดยจะมีการขอความเห็นของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งก.พ.ร.ซึ่งเป็นผู้ศึกษาก่อนที่จะมีการนำร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากนั้นผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)
เผยหลายกรมยุบรวมกระทรวงน้ำ
สำหรับการจัดตั้งหน่วยราชการใหม่ เช่น กระทรวงทรัพยากรน้ำ แหล่งข่าวกล่าวว่าเป็นสิ่งที่มีการนำเสนอและมีการศึกษาความเหมาะสมมาเป็นระยะเวลานานเนื่องจากในปัจจุบันการบริหารจัดการน้ำของประเทศยังไม่มีเจ้าภาพหลักที่ชัดเจน
“ต้องยอมรับว่าในการทำงานของหน่วยงานราชการบางหน่วยงานก็มีลักษณะงานที่คล้ายคลึงและทับซ้อนกัน แต่หากให้มีการเปลี่ยนแปลง ยุบเลิก หรือโอนย้ายส่วนใหญ่ก็ไม่อยากดำเนินการเพราะแต่ละกระทรวงก็มีกำลังคนมีงบประมาณของตัวเอง เรื่องนี้จึงต้องเป็นฝ่ายนโยบายสั่งการซึ่งต้องรอดูว่าทิศทางเป็นอย่างไร” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ โครงสร้างของกระทรวงทรัพยากรน้ำที่ ก.พ.ร.ศึกษาไว้แบ่งงานออกเป็น 5 ส่วนหลักๆคือ งานด้านนโยบาย การจัดหาน้ำปัจจัยพื้นฐาน การจัดการลุ่มน้ำปัจจัยการผลิต การจัดสรรบริหารน้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม และการจัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม และจัดการน้ำเสีย
สำหรับหน่วยงาน ที่อาจต้องยุบรวม คือ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กรมชลประทาน สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร นอกจากนั้นยังมีรัฐวิสาหกิจของกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมที่จะต้องโอนย้ายมา ได้แก่ สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ กรมการขนส่งทางน้ำ เป็นต้น
ทีดีอาร์ไอเสนอเร่งดันกม.บริการประชาชน
ด้านนายอิสรกุล อุณหเกตุ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าจากการศึกษา ร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ... ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้ให้ความเห็นชอบมาตั้งแต่ปี 2555 รวมทั้งเป็นหนี่งในกฎหมายที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น และ7 องค์กรภาคธุรกิจ เสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เร่งรัดการบังคับใช้เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดขั้นตอน ระยะเวลาและต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ
เขากล่าวต่อไปว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเป้าหมายที่ต้องการปรับปรุงการขออนุญาตภาครัฐทั้งในส่วนของการประกอบธุรกิจและการขออนุญาตต่างๆที่ประชาชนต้องขอจากภาครัฐโดยเน้นปรับปรุงในสองส่วนคือ 1.การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ 2.การเพิ่มความโปร่งใสและเพิ่มความรับผิดชอบ
นอกจากนี้ยังกำหนดให้ ก.พ.ร. รายงานต่อ ครม.พร้อมทั้งเสนอแนะการพัฒนาหรือปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการ ในกรณีที่ผู้อนุญาตดำเนินการพิจารณาอนุญาตล่าช้ากว่าที่กำหนดในคู่มือสำหรับประชาชนเกินสมควร หรือล่าช้าเพราะขาดประสิทธิภาพ และควรปรับเปลี่ยนให้ ก.พ.ร. ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตของทุกหน่วยงานอยู่แล้วเป็นผู้พิจารณาปรับปรุงกฎหมาย โดยรับฟังความเห็นจากหน่วยงานผู้อนุญาตและผู้มีส่วนได้เสียประกอบการพิจารณา
“แม้ว่าการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐ แต่กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมกิจกรรมทางสังคมเศรษฐกิจ หากมีการกำกับควบคุมโดยใช้กฎหมายและกฎระเบียบมากเกินไป (overregulation) ก็ย่อมสร้างภาระต้นทุนแก่สังคม และส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ"

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

"ในประเด็น "คสช.สั่งงดเลือกตั้งท้องถิ่นชั่วคราว"

๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๕.๔๕ น. ที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา "The National Assembly Radio and Television Broadcasting Station" สัมภาษณ์พิเศษ รายการ อินไซด์ รัฐสภา "ในประเด็น "คสช.สั่งงดเลือกตั้งท้องถิ่นชั่วคราว"
_คิดเห็นอย่างไรกับประกาศของ คสช. ที่มีคำสั่ง งดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นชั่วคราว และให้ใช้วิธีสรรหาแทน?
= เห็นด้วย เพราะสอดคล้องกับการงดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนในระดับชาติ (สส.,สว.) เพื่อรอการปฏิรูปการเมืองในระดับของท้องถิ่น ด้วยเหตุผลหนึ่งที่เข้ากระแสของการปฏิรูปก็คือ ปัญหาประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาการขาดระบบการควบคุมตรวจสอบที่สมดุลกันระหว่างข้าราชการฝ่ายประจำกับฝ่ายนักการเมืองท้องถิ่น รวมไปถึงการทุจริตคอรัปชั่นของท้องถิ่นในหลายมิติ ซึ่งในหลายๆ กรณีทำให้สังคมขาดความเชื่อมั่นศรัทธา... 
_มีการประเมินว่า เป็นการสลายอิทธิพลทางการเมือง ระหว่างการเมืองท้องถิ่นกับการเมืองระดับชาติ ตรงนี้คิดว่าจะสามารถสลายขั้วการเมืองได้หรือไม่ ?
= ปกตินักการเมืองระดับชาติ ก็มักจะมีฐานเสียงคะแนนมาจากฐานการเมืองในระดับท้องถิ่น การให้ชะลอการเลือกตั้งท้องถิ่น ลงอาจทำให้การเมืองระดับชาติหยุดนิ่งไปด้วยเช่นกัน...
_เท่าที่คลุกคลีการเมืองท้องถิ่นมา ข้อเท็จจริงการเอื้อประโยชน์ระหว่างการเมืองสองระดับ มีอย่างไร ?
= เป็นเรื่องปกติ ของการเอื้อประโยชน์กันระหว่างการเมืองระดับชาติกับการเมืองระดับท้องถิ่น เพราะการเมืองท้องถิ่นเป็นฐานเสียงของการเมืองระดับชาติ ในลักษณะของ “การต่างตอบแทน” ซึ่งกันและกัน อันส่งผลกระทบถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นฝ่ายประจำ ต้องคอยแก้ไขปัญหาความไม่ชอบต่าง ๆ ที่อาจพึงเกิดขึ้น หากการดำเนินการนั้นๆไปมีผลกระทบต่อสังคมในเชิงลบ ที่สำคัญคงไม่พ้นเรื่องการคอรัปชั่น...
_ประกาศของ คสช.ดังกล่าว มีผลกระทบต่อประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน ?
มีผลกระทบต่อสังคมโลกแน่นอน แต่ในสายตาของสังคมไทย อาจมองต่างมุม เพราะคำว่าประชาธิปไตยนั้น เราต้องมองในบริบท (context clue) ของสังคมไทยก่อนเป็นอันดับแรก เห็นว่าเป็นการปรับบทบาทขององค์กรหรือองคาพยพ (organ) ต่าง ๆ ของสังคมให้เข้ารูปเข้ารอยให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยเพื่อไปสู่ประชาธิปไตย อันเป็นเป้าหมายสุดท้ายเฉกเช่นที่สังคมโลกปรารถนาเช่นกัน..
_ตรงนี้มันจะค้านกันกับการกระจายอำนาจหรือไม่ เพราะการกระจายอำนาจก็บรรจุไว้ในการปฏิรูปประเทศด้วย ?
= การเตรียมการเพื่อปรับบทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ถือว่าเป็นการปฏิรูปในทางหนึ่ง ที่ต้องทำควบคู่ไปกับการกระจายอำนาจ เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นด้วยซ้ำ เพราะรากหญ้าของการพัฒนาต้องมาจากท้องถิ่น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ อปท.ก่อนย่อมบรรลุผลด้านการกระจายอำนาจ เหตุผลอีกอย่างก็คือ การกระจายอำนาจเดิมของไทยนั้น เป็นเพียงการกระจายอำนาจตามรูปแบบเท่านั้น มิใช่การกระจายอำนาจตามโครงสร้าง ซึ่งยังอยู่ในอำนาจการรวมศูนย์ที่กลุ่มบุคคล การเตรียมการดังกล่าวข้างต้นถือเป็นการเตรียมการไปสู่การกระจายอำนาจตามโครงสร้างที่ถูกต้องต่อไป
ผลจากการรวมศูนย์อำนาจที่ผูกขาด โดยไม่มีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจที่เหมาะสม ย่อมนำไปสู่การคอรัปชั่นได้ในที่สุด ทั้งนี้มีตัวที่คอยฉุดรั้งได้ก็เพียงความสำนึกรับผิดชอบของบุคคลในองค์กรเท่านั้น...
_คิดว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นจะมีเสียงค้านกับเสียงเชียร์ในเรื่องนี้อย่างไร?
= กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์ย่อมมีเสียงคัดค้านเป็นธรรมดา แต่ในสถานการณ์เช่นนี้คงต้องยอมรับ มิติของการเปลี่ยนแปลง ต้องเสียสละเจตน์จำนงส่วนตัวเป็นเจตน์จำนงส่วนรวมทั่วไป เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้า ไปสู่ความผาสุขของประชาชนเห็นว่าในภาพรวมน่าจะมีเสียงจากประชาชนให้กำลังใจกันมากกว่า...
_คิดว่ากระบวนการสรรหาควรเป็นอย่างไรให้ได้คนดี รู้ปัญหาท้องถิ่นเข้ามาทำหน้าที่ ?
= เห็นว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะมีกรอบการสรรหาไว้แล้วชัดเจน ตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 85/2557 ข้อ 2 ตอนท้ายระบุไว้ว่า “...ทั้งนี้ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย”...
_คำประกาศนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณการยกเครื่องการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่ ?
= ถือเป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่ เพราะ ปัญหาของการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นก็คือ การซื้อเสียง หรือ การให้ประโยชน์ตอบแทนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนน การเตรียมการเพื่อปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ก่อนที่จะปล่อยให้มีการเลือกตั้งครั้งต่อไป ถือเป็นเรื่องดี รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมิติต่าง ๆ ปฏิรูปกฎหมายเลือกตั้งและองค์กรอิสระเพื่อมีสภาพบังคับให้ดีขึ้น อันเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย...
_การส่งข้าราชการลงไปทำงานแทนสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ตรงนี้จะเป็นผลดีหรือผลลบต่อท้องถิ่น ?
= ข้าราชการเป็นผู้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระบบการสรรหาที่เน้นในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของผู้ได้รับการแต่งตั้งด้วย ถือเป็นการเรียนรู้ประชาธิปไตยให้แก่ท้องถิ่นในอีกมุมหนึ่ง ในเรื่องการปฏิบัติงานที่ต้องอ้างอิงระเบียบกฎหมายของสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้งคงไม่น่ามีปัญหา อันเป็นผลดีในภาพรวม ส่วนภาพลบนั้นอาจมีบ้าง หากการปฏิบัติงานของสมาชิกที่สรรหามาจากการแต่งตั้งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความคาดหมายของประชาชนที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของบริบทในแต่ละท้องถิ่น และบริบทของแต่ละบุคคล...
_มีข้อห่วงใยว่า ข้าราชการที่เข้าไปทำงาน จะรู้เท่าทันการเมืองระดับท้องถิ่นหรือไม่ ตรงนี้คิดว่าน่าห่วงมากน้อยแค่ไหน ?
= เห็นว่าข้าราชการอยู่ในระดับตำแหน่ง ผู้บริหารมีวัยวุฒิ คุณวุฒิ หรือข้าราชการเกษียณ บำนาญ ล้วนเป็นผู้มีความรู้ในท้องถิ่น การนำเอาบุคคลดังกล่าวมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง น่าจะเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นมาก เพราะผู้ได้รับการสรรหาล้วนแต่มีหลักประกันในเรื่องพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งคนในท้องถิ่นรู้ดีว่าเป็น "บุคคลสาธารณะ" ให้การยอมรับนับถือ ทั้งนี้ต้องเข้ามาในลักษณะอาสาทำงานใกล้ชิดกับประชาชน สิ่งที่น่าวิตกมากกว่า น่าจะอยู่ที่กระบวนการสรรหาข้าราชการที่จะมาทำงานเป็นไปตามที่สังคมคาดหวังเพื่อให้ได้คุณดีมีคุณธรรมเข้ามาหรือไม่เพียงใด...
_บางส่วนกังวลกับเงื่อนเวลา การอยู่ในวาระชุดที่มาจากสรรหาว่าจะอยู่นานเท่าใด คสช.ควรจะประกาศให้ชัดเจนเลยหรือไม่ ?
= หากเป็นไปตามแผนที่ คสช.กำหนด เงื่อนไขระยะเวลาก็เป็นไปตามกฎหมายโดยชัดเจนอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีบทเฉพาะกาลใดที่นอกบทบัญญัติของกฎหมาย...
_ในฐานะที่อยู่ส่วนท้องถิ่น คิดว่าท้องถิ่นควรมีการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงอย่างไร ?
=ในแนวทางของการปฏิรูปกฎหมายของท้องถิ่น มีกฎหมายหลักที่จำเป็นต้องปฏิรูปหลัก ดังนี้ 
(๑) ประมวลกฎหมายท้องถิ่น อาจรวมเรื่องการบริหารงานบุคคลของข้าราชการส่วนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วย
(๒) กฎหมายกระจายอำนาจท้องถิ่น
(๓) กฎหมายรายได้ท้องถิ่น
(๔) กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการรวมกลุ่มของข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสหภาพ...
_คาดหวังการเปลี่ยนแปลงต่อวงการการเมืองท้องถิ่นครั้งนี้อย่างไร ?
= เห็นว่าเป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะการเลือกตั้งตัวแทนท้องถิ่น และบทบาทการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพิทักษ์ปกป้องชุมชนของตนเอง...ขอบคุณครับ

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จัดทัพฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ วางดุลอำนาจ คสช. -นายกรัฐมนตรี เทียบจุดอ่อน-จุดแข็ง รัฐธรรมนูญหลังรัฐประหาร 3 ยุคนายพล “บิ๊กจ๊อด-บิ๊กบัง-บิ๊กตู่” พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศเส้นทางสู่รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า จะเร่งรัดให้มีธรรรนูญการปกครอง จะมีคณะรัฐมนตรี ต้องมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาปฏิรูป ในระยะเวลาที่ชัดเจน
กล่าวคือ ภายในเดือนกรกฎาคม 2557 มีการการทูลเกล้าฯ ธรรมนูญการปกครอง และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ประธานสภาแห่งนี้ทูลเกล้าฯ ชื่อนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ในราวเดือนกันยายน 2557 และมีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากการสรรหาและเลือกตั้งทางอ้อมทั่วประเทศเบ็ดเสร็จ 250 คน ในช่วงเดือนตุลาคม 2557
วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ครบรอบ 60 วัน ที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ยึดอำนาจการบริหารปกครองประเทศ มีหมายกำหนดการ เวลา 17.00 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
ความสำคัญของการประกาศใช้ รธน.ชั่วคราว ไม่เพียงแค่ทำให้ได้เห็นโครงสร้างประเทศช่วงเว้นวรรคประชาธิปไตย แต่ยังเป็นสัญญาณของการคลายอำนาจจากมือคณะรัฐประหาร ที่เคยปกครองประเทศผ่าน “ประกาศ/คำสั่ง” ที่ถึงปัจจุบัน คสช. ได้ออกประกาศ/คำสั่ง มาเกือบ 200 ฉบับแล้ว
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 82 ปีก่อน ประเทศไทยเคยผ่านเหตุการณ์รัฐประหารมาทั้งสิ้น 13 ครั้ง มีการฉีกรัฐธรรมนูญ 8 ครั้ง คณะรัฐประหารได้ประกาศใช้ รธน.ชั่วคราว 2 ครั้ง (ปี 2490 และปี 2549) และประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครอง” ซึ่งมีความหลายคล้ายกับ รธน.ชั่วคราว นั่นคือ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศชั่วคราว รวม 4 ครั้ง (ปี 2502 ปี 2515 ปี 2520 และปี 2534)
 โดยมีแนวโน้มว่า ฉบับที่จะประกาศใช้ในปี 2557 จะใช้ชื่อว่า “รธน.ชั่วคราว”
เนื้อหาหลักๆ ใน “รธน.ชั่วคราว/ธรรมนูญการปกครอง” มักแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. ที่มาและอำนาจของฝ่ายบริหาร
2. ที่มาและอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นสภานิติบัญญัติหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ
3. บทบาทของคณะรัฐประหาร หลังประกาศใช้ รธน.ฉบับชั่วคราว/ธรรมนูญการปกครอง
ร่าง รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 คณะทำงานด้านกฎหมายได้หยิบจุดดี-จุดด้อย มาจากธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 ของ “บิ๊กจ๊อด” พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) และ รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 ของ “บิ๊กบัง” พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มาปรับแก้ เพื่อนำบทเรียนจากนักรัฐประหารรุ่นพี่มาอุดช่องโหว่
ร่าง รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 ของ “บิ๊กตู่” จึงเป็นส่วนผสมระหว่างฉบับ “บิ๊กจ๊อด-บิ๊กบัง” ที่ได้รับการแก้ไขข้อบกพร่อง ให้เหมาะสมกับบริบทบ้านเมืองในปัจจุบัน
เค้าร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ “บิ๊กตู่” คืนความสุข จากการเปิดเผยของ พล.อ. ประยุทธ์ ผ่านรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” รวมถึงได้รับการเปิดเผยจากแกนนำ คสช. คนอื่นๆ ต่างกรรมต่างวาระ เค้าโครงของ รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 จะมีลักษณะดังนี้
- มีจำนวน 45-50 มาตรา
- ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับผิดชอบงานเฉพาะด้านการบริหาร / คสช. รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง
- ฝ่ายนิติบัญญัติ จะมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีสมาชิก 200 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมาย สภาปฏิรูป (สปร.) มีสมาชิก 250 คน ทำหน้าที่คล้ายสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) คือพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอมา และยังมีหน้าที่กำหนดวาระการปฏิรูปประเทศ
- สนช. ทั้ง 200 คน คสช. จะเป็นผู้แต่งตั้ง
- สปร. จะมีที่มาจาก 2 กลุ่ม คือ ตัวแทนจังหวัด จังหวัดละ 5 คน คัดให้เหลือ 1 คน รวม 76 คน และตัวแทนกลุ่มอาชีพ 11 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน รวม 550 คน ตัวแทนทั้ง 2 กลุ่ม 626 คน จะมีวิธีคัดเลือกให้เหลือ 250 คน
- ทั้ง สนช. และ สปร. จะได้รับการแต่งตั้งภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อเดินหน้าเฟสสอง ที่จะใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี
- นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดย สนช. ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ นายกฯ เป็นผู้เสนอแต่งตั้ง
ดุลอำนาจฝ่ายบริหาร-ที่มานายกรัฐมนตรี
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐาน ที่มาของฝ่ายบริหาร (ครม., นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี) ใน รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 จะต่างจากฉบับปี 2534 และฉบับปี 2549 อยู่หลายประเด็น
ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2557 จะให้ สนช. เป็นผู้เสนอชื่อแต่งตั้งนายกฯ ให้คล้ายกับกลไกปกติ ที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แต่งตั้งนายกฯ ต่างจากฉบับปี 2534 ที่ให้ประธานสภา รสช. เป็นผู้เสนอชื่อแต่งตั้งนายกฯ (ได้นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกฯ) และฉบับปี 2549 ที่ให้ประธาน คมช. เป็นผู้เสนอชื่อแต่งตั้ง (ได้ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ )
ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 มาตรา 21 บัญญัติไว้ว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ตามคำกราบบังคมทูลของประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และรัฐมนตรีตามจำนวนที่นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูล ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน”
ส่วน รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 มาตรา 14 บัญญัติไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติถวายคำแนะนำ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ
การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”
ด้วยการกำหนดให้นายกรัฐมนตรี มีที่มา “2 ขยัก” คือ คสช. ตั้ง สนช. แล้ว สนช. ตั้งนายกฯ ทำให้การวิเคราะห์ว่า หัวหน้า คสช. อาจรับตำแหน่งนายกฯ ด้วยตัวเอง จึงมีความเป็นไปได้ นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2557 จะแบ่งอำนาจฝ่ายบริหารออกเป็น 2 ส่วน คือด้านการบริหาร ให้ ครม. รับผิดชอบ และด้านความมั่นคง ให้ คสช. รับผิดชอบ
การทำหน้าที่แบบคู่ขนาน ระหว่างหัวหน้าคณะรัฐประหาร กับนายกรัฐมนตรี ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2534 และ ฉบับปี 2549 กับบทบาทของคณะ คสช. ในฉบับ 2557 จึงอาจมีดีกรีที่แตกต่างกัน
เพราะธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 มีการตั้ง “สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” หรือสภา รสช. โดยให้หัวหน้า รสช. เป็นประธานสภา รสช. (มาตรา 18) พร้อมให้อำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน และเสนอแนะหรือให้ความเห็นในเรื่องใดๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ครม. ในการบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 19) และในกรณีที่เห็นสมควร ประธานสภา รสช. หรือนายกฯ อาจขอให้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไขปัญหาใดๆ อันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 20)
ด้วยอำนาจหน้าที่มีบทบาทกระทั่งในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการให้ให้ประธานสภา รสช. เป็นผู้เสนอชื่อแต่งตั้งนายกฯ สถานะของ “สภา รสช.” จึงคล้ายเป็น “ซูเปอร์ ครม.” ที่อยู่เหนือ ครม. ปกติ
ต่างกับ รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 ที่มีการตั้ง “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” หรือ คมช. ที่ประกอบด้วยบุคคลจาก คปค. (มาตรา 34 วรรคหนึ่ง) แต่ได้ให้อำนาจหน้าที่เพียงประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาและแก้ไขปัญหาใดๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและมั่นคงแห่งชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราว (มาตรา 34 วรรคห้า) เท่านั้น
บทบาทของ “คมช.” จึงมีดีกรีที่อ่อนกว่า “สภา รสช.” คล้ายเป็น “ที่ปรึกษา ครม.” มากกว่า
จากเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 บทบาทของ “คสช.” จะเป็น “ซูเปอร์ ครม.” หรือเป็นเพียง “ที่ปรึกษา ครม.” อาจขึ้นอยู่กับการปรับโครงสร้างดุลอำนาจในกองทัพ และการจัดระยะห่างระหว่างนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.
จุดต่างฝ่ายนิติบัญญัติ สนช. และสภาปฏิรูป
เป็นธรรมเนียมว่า รธน.ชั่วคราว/ธรรมนูญการปกครอง จะต้องตั้ง “สภานิติบัญญัติ” หรือ สนช. ขึ้นมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติแทนสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ ยังต้องตั้ง “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” หรือ ส.ส.ร. ขึ้นมา ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ถูกฉีกทิ้ง แต่จำนวนและที่มาของ สนช.หรือ ส.ส.ร. จะต่างกันไปตามแต่และยุคสมัย
รธน.ชั่วคราวฉบับของ คสช. จะกำหนดให้มี สนช. จำนวน 200 คนซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ทั้งหมด ทำหน้าที่พิจารณากฎหมาย และ “สภาปฏิรูป” หรือ สปร. จำนวน 250 คน ทำหน้าที่พิจารณารัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทน ส.ส.ร. และเพิ่มอำนาจใหม่ในการวางกรอบสำหรับการปฏิรูปประเทศในอนาคต โดย พล.อ. ประยุทธ์ เปิดเผยในรายการคืนความสุขให้คนไทยทั้งชาติ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2557 ว่า สปร. ทั้ง 250 คน จะคัดเลือกจากตัวแทนจังหวัด 76 คนและตัวแทนกลุ่มอาชีพ 550 คน แต่ยังไม่เปิดเผยว่าจะใช้วิธีการใดในการคัดเลือก
ทั้งนี้ จะให้มีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน มีที่มาจาก สปร. 20 คน สนช. 5 คน คสช. 5 คน และ ครม.อีก 5 คน
โมเดลการแต่งตั้ง “200 สนช./250 สปร./35 กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ” ของ คสช. จะต่างจากคณะรัฐประหารรุ่นพี่
โดยในปี 2534 ธรรมนูญการปกครองกำหนดให้มีสภาเดียว คือ “สนช.” จำนวน 200-300 คน โดย รสช. แต่งตั้งทั้งหมด ทำหน้าที่ทั้งออกกฎหมายและพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือเป็นทั้ง สนช. และ ส.ส.ร. ไปในตัว สำหรับ กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีจำนวน 20 คน โดย รสช. เป็นผู้แต่งตั้งทั้งหมด กล่าวคือ รสช. เป็นผู้ควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติสมัยนั้นอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ขณะที่ในปี 2549 รธน.ชั่วคราว กำหนดที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติไว้ซับซ้อนกว่า โดย สนช. 250 คน แม้จะมาจากการแต่งตั้งโดย คมช. ทั้งหมด แต่การคัดเลือก ส.ส.ร. ยุคนั้นเพิ่มขั้นตอนอีก 3 ขั้น คือให้มีสมัชชาแห่งชาติขึ้นมาก่อน มีสมาชิก 2,000 คน ลงคะแนนเลือกกันเองให้เหลือ 200 คน จากนั้น คมช. จะสรรหาเองให้เหลือเพียง 100 คน
ขณะที่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 35 คน มีที่มา 25 คนมาจากการคัดเลือกกันเองใน ส.ส.ร. บวกกับอีก 10 คน ที่ คมช. แต่งตั้งมา
มาตราที่ว่าด้วยนิรโทษกรรม และกำหนดการเลือกตั้ง
ประเด็นสำคัญในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 และ รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 มี และน่าจะปรากฏใน รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 ด้วย นอกจากการกำหนดให้ประกาศ/คำสั่งที่ออกโดยคณะรัฐประหารมีผลบังคับใช้ต่อไป ก็คือการ “นิรโทษกรรม” ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหาร
ในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่า
“บรรดาการกระทำ ประกาศ หรือคำสั่งของหัวน้า รสช. หรือของ รสช. ที่ได้กระทำ ประกาศ หรือสั่งก่อนวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้ ทั้งนี้ ที่เกี่ยวเนื่องกับการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ไม่ว่าจะกระทำด้วยประการใด หรือเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะกระทำ ประกาศ หรือสั่งให้มีผลใช้บังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ถือว่าการกระทำ ประกาศ หรือคำสั่ง รวมทั้งการกระทำของผู้ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้นตลอดจนการกระทำของบุคคลใดๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดหรือควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินดังกล่าว เป็นการกระทำ ประกาศ หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ใน รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 มาตรา 37 บัญญัติไว้ว่า
“บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ของหัวหน้า คปค. รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือ คปค. หรือของผู้ได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือ คปค. อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง” 
ข้อแตกต่างสำคัญบางประการ ที่ปรากฏในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 และ รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 ฉบับหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏในฉบับหนึ่ง มีอยู่ 2-3 จุด
เช่น การกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 มีการเขียนย้ำไว้หลายจุดว่า “การเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นภายใน พ.ศ. 2534” โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ รธน.ฉบับใหม่ยังจัดทำไม่แล้วเสร็จ สามารถเลื่อนออกไปอีก แต่ต้องไม่เกิน 120 วันนับแต่วันสิ้นปี พ.ศ. 2534 ซึ่งข้อความนี้ไม่ปรากฏใน รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 และไม่แน่ชัดว่าจะปรากฏใน รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 หรือไม่ 
ขณะที่ รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้มีองค์กรใหม่ขึ้นมาใช้อำนาจตุลาการ ได้แก่ “คณะตุลาการ รธน.” เพื่อวินิจฉัยคดีแทนศาล รธน. โดยเวลานั้น มีคดีสำคัญยุบพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ได้แก่ พรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล รธน.
นอกจากนี้ ฉบับปี 2549 ยังกำหนดให้ รธน. ที่ ส.ส.ร. พิจารณาเสร็จแล้ว ต้องนำไปทำประชามติ ซึ่งในฉบับปี 2534 ไม่ได้กำหนดเช่นนั้น และฉบับปี 2557 มีแนวโน้มว่าจะไม่ทำประชามติเช่นกันหากพิจารณาจากนักกฏหมาย ที่อยู่ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หลังรัฐประหารในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มักตกอยู่ในกลุ่มนักกฏหมายกลุ่มเดียวกับลูกศิษย์สำนักคิดสาย ดร.มีชัย ฤชุพันธ์ุ, ดร.วิษณุ เครืองาม, ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แล้ว จึงเป็นที่น่าจับตาดูว่า รธน.ชั่วคราว พ.ศ. 2557 ที่กำลังจะประกาศใช้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ คสช. จะเพิ่มเติมนวัตกรรมกฎหมายใหม่ใดขึ้นมาหรือไม่ 
ที่มา....

ads.txt

google.com, pub-4865607100783107, DIRECT, f08c47fec0942fa0